เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอน วิญญาณร้ายเข้าสิง

tree

จิปาถะ
เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอน วิญญาณร้ายเข้าสิง
82
พฤติกรรมของนางแต้ม ตามที่จานจินว่ามานี้ เป็นแบบเดียวกับที่ปรมาจารย์ทางจิตวิทยา Sigmund Freud (1856-1939) ว่า เป็นพวกมี Id และ Ego สูง หรือเปล่าครับ อาจารย์
ผมอธิบายว่า “ซิกมันต์ ฟรอยด์ ( อ้างจากสาทิส.2541: 32-33)ได้แบ่งตัวเราออกเป็น 3 ส่วน คือ Id, Ego และ Superego
Id เป็นภาษาลาติด แปลว่า (It) ฟรอยด์ ชอบพูดถึง Ego คู่กันไปกับ Id โดยกล่าวถึงตัวเราเองแท้ๆ (Real Self) นั้นประกอบไปด้วย Ego และ Id
Ego จะเป็นตัวเราที่รู้ตัวอยู่และควบคุมได้ แต่ Id จะเป็นตัวเราอีกตัวหนึ่งซึ่งทำอะไรไปตามความปรารถนาหรือความอยาก หรือที่เรียกว่าสันดานดิบ
หลายคนพยายามจะอธิบายถึงการกระทำของตัวเองว่า “มัน” มาจากบางอย่างซึ่งอยู่ในตัวฉัน ซึ่งไม่ใช่ฉัน (ไม่ใช่ฉัน” นั่นแหละ คือ Id
ส่วน Superego (ภาษาลาตินแปลว่า”เหนือฉัน” หรือ (Over the I) จะเป็นตัวฉันกับสังคม เป็นตัวฉันซึ่งจะควบคุมตัวเองเหนือ Ego โดยคำนึงถึงคุณธรรม หรือกฎเกณฑ์ของสังคมเป็นหลักในการตัดสินใจ”
“งงครับ” ถากถาง คอมเพลน
83
เอาง่ายๆอย่างที่อาจารย์ Lester Sdorow ( อ้างจากสาทิส.2541: 34) แห่งมหาวิทยาลัยแอลเล็นทาวน์ ในโอไฮโอ เปรียบเทียบขั้นตอนของ Id, Ego และ Superego ง่ายๆในทำนองนี้ว่า
นาย ก. ขัดรถมาด้วยความเร็วและขับตัดหน้ารถนาย ข อย่างกะทันหัน จนนาย ก. ต้องเบรกตัวโก่ง
Id, ของนาย ข. จะบอกว่า ขับชนมันซะเลย และเอาปืนไปยิงแม่งมันด้วย
Ego ของนาย ข. จะบอกว่า “อย่านะแก” คิดดูให้ดีๆก่อน
Superego ของนาย ข. จะบอกว่า “ไม่ได้” ทำแบบนั้นไม่ได้ ติดคุกแหง๋ๆ
ว่ามาถึงตรงนี้ ถากถางอ้าปากหาวบ่น “เบื่อ..คุยเรื่องนางปากเบี้ยว ดีกว่า” พูดยังไม่ทันจบถากถางเอามือปิดปากอย่างสำนึกผิด”
……..
สาทิส อินทรกำแหง.(2541).กูแน่.พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพฯ; คลินิกบ้านและสวน.

Comments are closed.