เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอนอาศรมศิลป์ 2

big-es
จิปาถะ
เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอนอาศรมศิลป์ 2
25
“ผมคงต้องคิดแบบอาจารย์นั่นแหละครับ ปล่อยเขาไป ธรรมชาติเขาเป็นเช่นนั้นเอง
“ดีมาก ท่านจิน “จงมองสรรพชีวิตด้วยสายตาของความรักและความเมตตา”
“ครับอาจารย์ ผมจะพยายาม”
เออ! ไหนว่าจะปรึกษาเรื่องอะไรล่ะ ว่ามาซิ”
“เรื่องการอนุรักษ์โบราณวัตถุสถาน ครับ พอดีเขากำลังจะไล่ รื้อ “อาศรมศิลป์” ที่พวกเราอยู่กันมาเกือบ 40 ปี พวกบ้าอำนาจเขาคิดจะรื้อทิ้ง เพื่อสร้างอาคารใหม่ พวกโลหิตจางก็เออออห่อหมกไปกับเขาด้วย แต่ผมเสียดายทั้งตัวอาคารที่เพิ่งซ่อมและเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง มันเป็นบันทึกการต่อสู่ดิ้นรนของผู้คนเป็นจำนวนมาก ที่เสียชีวิตไปแล้วก็มี ถ้าเรารื้อทิ้งเด็กรุ่นหลังก็จะไม่รู้กำพืดหรือรากเหง้าของตนเอง อาจารย์เคยเป็นประธานชมรมอนุรักษ์โบราณวัตถุสถาน ที่อยุธยา อาจารย์คิดอย่างไรครับ”
26
ผมยกเบียร์ขึ้นดื่ม ยิ้มน้อยๆ หายใจเข้าออกช้าๆ เจริญสติ ทำท่าครุ่นคิดก่อนที่จะตอบว่า
“มนุษย์มันมีปัญหาเช่นนี้แหละ”
“หมายความว่าอย่างไรครับ อาจารย์”
“เธอจำได้ไหม เมื่อปี พ.ศ. 2540 เราได้อาคารดนตรี-นาฏศิลป์และศิลปะ มาใหม่ พวกเราต้องการไปอยู่ในกลุ่มวิชาที่สัมพันธ์กัน แต่ผู้บริหารไม่ยอมให้พวกเราไป ยืนยังว่าเรามีอาคารของเราอยู่แล้ว และอ้างโน่นอ้างนี่ไปตามเรื่อง เป็นเหตุให้ต้องทะเลาะกันแทบเป็นแทบตาย สุดท้ายก็เกษียณกันไปหมด ทั้งคนที่อยากจะไปอยู่ และคนที่ไม่อยากให้ไปอยู่
มาถึงตอนนี้ผู้บริหารเกิดอยากให้พวกเราไปเสียให้พ้นๆ ก็คงอ้างโน่นอ้างนี่เช่นเดียวกัน แต่ความอยากไปของเรามันหมดแล้ว เหลือแต่อยากจะอยู่ตรงนี้แหละ ก็เลยยุ่งหน่อย”
“ช่างมันเถอะครับ นั่นมันเรื่องเก่า เอาเรื่องอนุรักษ์ดีกว่าครับ อาจารย์”
“ได้ ท่านจิน การอนุรักษ์เป็นเรื่องของการให้เกียรติ ให้ความสำคัญ และให้ความเคารพภูมิปัญญาของผู้คนในอดีต เพราะสิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นอาคารหรือสถานที่ ล้วนเป็นวิถีของผู้คนที่เกี่ยวข้องแทบทั้งสิ้น ว่ากันง่ายๆก็ คือ ถ้าท่านยังเคารพพ่อแม่พี่น้องปู่ย่าตายายของท่านอยู่ ท่านก็ควรรักษาสิ่งที่เขาเหล่านั้นสร้างสมไว้ แต่ถ้าท่านไม่สนใจเรื่องนี้ก็รื้อทิ้งไป..
แต่นั่นแหละ คงต้องระมัดระวังหน่อยนะ เพราะสถานที่บางแห่งมีความสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ บางคนเข้าไปทำอะไรโดยไม่ดูตาม้าตาเรื่อ ครอบครัวต้องได้รับเคราะห์กรรม ก็มีตัวอย่างให้เห็นบ่อยๆ”
27
“แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าจะว่าเรื่องการอนุรักษ์ ให้แจ่มแจ้งชัดเจน ก็ต้องอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสเสด็จประพาสอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2506 มาเป็นแนวทาง ความว่า “การสร้างอาคารสมัยนี้ คงจะเป็นเกียรติสำหรับผู้สร้างคนเดียว แต่เรื่องโบราณสถานนั้นเป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่า ๆ แผ่นเดียวก็มีค่าควรจะช่วยกันรักษาไว้ ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยาและกรุงเทพฯ แล้ว ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย”
“จากกระแสพระราชดำรัส “อิฐเก่า ๆ แผ่นเดียวก็มีค่าควรจะช่วยกันรักษาไว้”ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คนที่จะรื้อโน่นรื้อนี่ทิ้งเพื่อสร้างสิ่งใหม่นั้น ไร้สมองจริงๆ”
“คงไม่ถึงขนานนั้นมั้ง ท่านจิน”
28
“แต่นั่นแหละครับอาจารย์ เรื่องการรื้ออาศรมศิลป์นี่ พวกเราเปรียบเหมือนมดแดงตัวเล็กๆ พวกบ้าอำนาจเปรียบเหมือนช้างใหญ่ แถมมีบริวารแมวหมาส่งเสริมด้วย เราคงไม่สามารถต้านทานอะไรเขาได้”
“ไม่จริงหรอก ช้างตัวอย่างใหญ่ถูกมดแดงกัดตายไปเยอะแล้ว” ถากถางซึ่งนั่งฟังอยู่นานแสดงความเห็น
“เมื่อตอนเป็นเด็ก ผมก็เคยเห็นช้างถูกมดแดงรุมกัดที่ตาร้องเสียงหลง ล้มทั้งยืนเลย” จานจินนึกขึ้นได้
“ก็มันเสือกโง่ ไปกระทืบรังมดแดง ก็สมควรตาย” ถากถางเสริม
“พวกเธอไม่รู้หรือ” ผมขัดขึ้น “ได้ข่าวมาว่า ตอนนี้มีช้างใหญ่โง่ ตกมัน วิ่งอาละวาดอยู่แถวอาศรมศิลป์ ดูเหมือนจะเหยียบรังมดแดงเข้าไปแล้วด้วย”
…..

Comments are closed.