เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอน ท่องยมโลก (เพื่อน 24)

doubles

จิปาถะ
เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก ตอนท่องยมโลก (เพื่อน 24)
57
“ตู้อบบอกแต้มว่า ในมัลลิกาสูตร พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงถามนางมัลลิกาว่า “เธอรักใครมากที่สุด”
นางมัลลิกา ตอบว่า “หม่อมฉันรักตัวเองมากที่สุด”ซึ่งทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลต้องเสด็จไปทูลถามพระพุทธเจ้า
พระพุทธองค์ตรัสว่า
“ไม่มีใครรักคนอื่นเท่ากับตนเองหรอก ตนเองเป็นที่รักยิ่งของคนทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ผู้ที่รักตนเองจึงไม่ควรเบียดเบียนคนอื่น”(เสฐียรพงษ์ วรรณปก.2542:76)
58
“ที่นี้ทั้งแม่และน้องแจ๊ดแจ๋ก็รู้แล้วซินะว่า การรักตัวเองเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ ส่วนที่แม่ว่ารักลูกมากที่สุด และรักญาติพี่น้องนั้น เป็นการหลอกตัวเอง เพราะสิ่งที่อยู่ลึกๆในใจของแม่และแจ๊ดแจ๋ก็คือ ตัวตนที่แท้จริง มันคือความโลภ โกรธ หลง และความตะกละ ที่มุ่งคิดถึงประโยชน์ที่จะได้ มันเป็นความโลภทั้งของแม่และน้องแจ๊ดแจ๋ ซึ่งไม่สามารถแยกออกไปได้”
“ลูกทำไมว่าแม่และน้องอย่างนั้นล่ะ”
ก็มันเป็นจริงตามนั้น ตู้อบบอกแต้ม
“ตู้อบเป็นใครนะ”แม่นางแต้มสงสัย
“ก็เพื่อนแต้มไงแม่”
“แล้วมันมาเสือกอะไรกับเราล่ะ”
“หยุดนะแม่ อย่าว่าตู้อบอย่างนั้นนะ”
“จะบ้ากันไปใหญ่แล้ว” แจ๊ดแจ๋ ตะโกน
“หยุดนะ “อย่าเปล่งคำที่เป็นแค่เสียงรบกวนออกมาเท่านั้น”(คะสุโยชิ คิโนะ.2549.59.อ้างจากชุนโด อาโอยามา) นางแต้ม เอ็ด ทำให้แจ๊ดแจ๋เงียบไป
“ที่นี้ทั้งแม่และน้องแจ๊ดแจ๋ คงต้องใช้ปัญญาสักนิดหนึ่งนะ เพื่อจะได้รู้จักรักคนอื่น”
“เราจะไปรักคนอื่นทำไมล่ะ เขาไม่ใช่ญาติพี่น้องเรา จะไปพึ่งพาอาศัยใครเขาได้” แม่นางแต้มโต้แย้ง
“ไม่รักคนอื่นก็ไม่เป็นไร แต่อย่าไปเบียดเบียนใครก็แล้วกัน”
“ที่นี้แต้มจะบอกแม่และแจ๊ดแจ๋ว่า… เราสามารถนำเอาการรักตัวเองที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ “เพราะถ้าแม่และน้องแจ๊ดแจ๋ไม่รักตัวเองก็คงจะรักคนอื่นไม่ได้”
“ก็รักลูกไง”
“ใช่ ”
“การรักตัวเอง การรักลูก และรักคนอื่นเป็นความรักอย่างเดียวกัน เป็นความรักที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆ และนี่เองคือสิ่งที่เรียกว่าความ เมตตากรุณาในพระพุทธศาสนา”
“แม่งง แจ๊ดแจ๋ว่าอย่างไงลูก” “งงเหมือนกันแม่”
“ต้องมีเมตตา แค่นี้ก็งงด้วยรึ” นางแต้มถอนใจ
(ต่อคราวหน้า)
อ้างอิง
ชุนโด อาโอยามา, ภิกษุณี. ช่อฟ้า เจตนาวีระบุตร แปล.(2549).งามอย่างเซน เมล็ดพันธุ์แห่งธรรม จากมุมมองของ
ผู้หญิง.นครนายก: เสมสิกขาลัย.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก.(2542) พุทธวิธีสอนจากพระไตรปิฏก.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : หจก.อรุณการพิพพ์

Comments are closed.