เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์กตอน “ไม่สะใจโก๋ 2”

a-lions

จิปาถะ

เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์กตอน “ไม่สะใจโก๋ 2”

9

เมื่อเด็กชายแก้ว  แก้วไทย เล่ามาถึงตอนที่ “สิงโตแม่ลูกอ่อนเดินไปหยุดที่ใต้ต้นไม้ที่นางสาวแต้มหนีขึ้นไป  มันล้มตัวลงนอน   มันนอน “คอย” อย่างสบายอารมณ์”

ปรากฏว่ามีเสียงเด็กผู้ชายคนหนึ่งพูดขึ้นมาลอยๆว่า  แล้วนางสาวแต้มจะขี้เยี้ยวอย่างไรกันล่ะ ทำให้เด็กๆฮากันตรึม

หลักจากเสียงฮาจางหายไป  เด็ดชายอิฐ  สีแสด  ลุกขึ้นยืนกล่าวชื่นชมเด็กชายแก้ว  รักไทย ว่า

“เรื่องที่ เล่ามาก็ดูเข้าท่าเข้าทางดี….แต่ผมว่ามันไม่ตรงประเด็นของเรื่องนะครับ”

“มันอย่างไรล่ะ” เด็กชายแก้วย้อนถาม

“ประเด็นของเรื่อง คือ ก่อนสิงโตแม่ลูกอ่อนจะตาย มันร้องถามนางสาวแต้มและพวกว่า
“ท่านยิงข้าและลูกข้าเพื่อประโยชน์อันใด”
นางสาวแต้มและแจ๊ดแจ๋ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “เพื่อทดสอบสมรรถภาพของพวกเรานะซิ”
สิงโตแม่ลูกอ่อนจึงย้อนว่า “ถ้ามีสิงโตบุกเข้าไปในบ้านท่าน และฆ่าพ่อแม่ของท่าน เพื่อทดสอบสมรรถภาพของสิงโตบ้างล่ะ ท่านจะรู้สึกอย่างไร…ประเด็นมันอยู่ตรงนี้”

10

“ฉะนั้น เรื่องจะต้องเป็นว่า เมื่อนางสาวแต้มและนางสาวแจ๊ดแจ๋ เดินทางกลับถึงบ้าน  ปรากฏว่าบ้านของเธอและของน้องสาวถูกสิงโต บุกเข้าทำลายทุกสิ่งทุกอย่างจนราพณาสูร  เมื่อสองพี่น้องเห็นสภาพบ้านเท่านั้นแหละ ทั้งคู่ก็เป็นลมล้มฟุบไปพร้อมกัน  นางสาวแต้มรู้สึกตัวขึ้นอีกครั้งโดยมีนางสาวแจ๊ดแจ๋น้องสาวนั่งร้องไห้กระซิกอยู่ ข้างๆ ใกล้กันนั้นจุดจู๋นั่งหน้าขาวซีดร้อนๆหนาวๆกลัวเหตุการณ์จะเกิดขึ้นกับตัวเองบ้าง   เมื่อนางสาวแต้มลืมตาขึ้น เธอร้องถามด้วยหน้าตาตื่นว่า “ถ้วยอยู่ไหม”

“พังพินาศหมดแล้ว” แจ๊ดแจ๋ตอบด้วยเสียงสะอึกสะอื้น

นางสาวแต้มกัดฟันกรอด จนขากรรไกรโปนขึ้นมาเห็นชัดเจน เธอสบถออกมาว่า “มึง…ไอ้สิงโต”

“ต้องจบแบบของผมนี่แหละครับ” เด็กชายอิฐ ว่า “มันสะใจดี” “และเสริมว่า “บางทีคนเราก็ติดยึดอยู่กับภาพความดีของตัวเองมากเกินไป ทำให้เราสู้กับความชั่วร้ายไม่ค่อยจะได้”

“สุดยอด” ครูสตางค์รูชม ครูมองไปรอบๆและถามว่ามีใครจะว่าอะไรต่ออีกไหม

เด็กๆนิ่งเงียบ ไม่มีเสียงตอบ ครูสตางค์รูจึงสรุปว่า “เท่าที่พวกเราได้คิดต่อเติมเสริมแต่งให้เรื่องจบในแบบที่ตัวเองต้องการ ถือว่าดีมาก  เราจะเห็นได้ว่า การเล่านิทานนั้น ผู้เล่ามีอิสระที่จะจินตนาการเรื่องราวต่างๆได้ ตามใจชอบ ไร้ข้อจำกัด  แต่ครูอยากเสนอแนะสักนิดหนึ่งว่า เรื่องที่แต่งขึ้น หรือต่อเติมเสริมแต่งขึ้นจากเรื่องอื่นๆนั้น จะต้องเป็นไปในลักษณะที่สร้างสรรค์ ไม่ใช้ในลักษณะที่เป็นการทำลาย  เพราะครูยังเชื่อมั่นอยู่เสมอว่า “ธรรมะยอมชนะอธรรม”

“ครับครู”  เด็กๆพูดขึ้นพร้อมกันอย่างเข้าใจ “ธรรมะยอมชนะอธรรม”

…………..

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *