อิ สวา สุ

abf acf isva

จิปาถะ
อิ สวา สุ
(เพื่อให้ข้อเขียนสมบูรณ์ในระดับหนึ่ง จึงนำคำแปลของบทพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ ด้วย เลยเหมือนกับหนังสือสวดมนต์)
ได้นำเสนอหัวใจคาถาที่มาจาก “สรณาคมน์ พร้อมตัวอย่างเหรียญมาให้ทราบกันแต่พอสังเขปแล้ว วันนี้ขอนำเสนอหัวใจคาถาที่มีความสำคัญมากคาถาหนึ่ง คือคาถาที่มาจาก “ธชัคคปริตร”ในส่วนที่เป็นบทพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ คือ หัวใจคาถา อิ สวา สุ
คำว่า “ปริตร” [ปะ-หริด] พจนานุกรมอีเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายว่า “ ความต้านทาน, เครื่องป้องกัน; พระพุทธมนต์ในเจ็ดตํานานที่เรียกว่า สัตปริตร และสิบสองตํานานที่เรียกว่า ทวาทศปริตร, ตํานานหนึ่ง เรียกว่า ปริตรหนึ่ง.ว. น้อย. (ส.; ป. ปริตฺต).”
ธชัคคปริตร เป็นพระสูตรหนึ่งในเจ็ดตำนาน ซึ่งถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ สามารถคุ้มครองรักษา ป้องกันอันตรายต่างๆและกำจัดทุกข์ ภัย โรค ได้ ส่วนที่เป็นพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และสังฆคุณ ซึ่งย่อเป็นหัวใจคาถา อิ สวา สุ มีที่มา ดังนี้
อิ ย่อมาจาก อิติปิโส…เป็นพุทธานุสติ คือการระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า โดยสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้า 9 ประการ คือ
อิติปิ แม้เพราะเหตุนี้ๆ โส ภควา พระผั้มีพระภาคเจ้านั้น
1. อรหํ เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ ควรบูชา
2. สมฺมาสมฺพุทฺโธ, เป็นผู้รู้ชอบเอง
3. วิชฺชาจารณสมฺปนฺโน เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยวิชชาและจารณะ
4. สุคโต เป็นพระสุคตผู้เสด็จไปดีแล้ว
5. โลกวิทู เป็นผู้ทรงรู้โลก
6. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
7. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาผู้เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย
8. พุทฺโ ธ เป็นผู้เบิกบานแล้ว
9. ภควา ติ เป็นผู้จำแนกธรรมดังนี้
สวา ย่อมาจาก สวากขาโต… เป็นธรรมานุสติ คือการระลึกถึงคุณพระธรรม โดยสรรเสริญพระคุณของพระธรรม 6 ประการ คือ1. สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม, พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
2. สนฺทิฏฺฐิโก เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง
3. อกาลิโก เป็นของไม่มีกาลเวลา
4. เอหิปสฺสิโก เป็นของจะเรียกร้องผู้อื่นให้มาดูได้
5. โอปนยิโก เป้นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามาใส่ใจ
6. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ เป็นของอันวิญูญูชนทั้งหลาย พึงรู้เฉพาะตน ดังนี้
สุ ย่อมาจาก สุปติปนฺโน…. เป็นสังฆานุสติ คือการระลึกถึงคุณพระสงฆ์โดยสรรเสริญพระคุณของพระสงฆ์ 9 ประการ คือ
1. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
2. อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
3. ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกต้องแล้ว
4. สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว
ยทิทํ คือ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ คู่แห่งบุรุษทั้งหลาย 4 อฏฺฐ ปุริสะปุคฺคลา บุรุษบุคคลทั้ง 8
เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
5. อาหุเนยฺโย ท่านเป็นผู้ควรสักการะที่เขานำมาบูชา
6. ปาหุเนยฺโย ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ
7. ทกฺขิเณยฺโย เป็นผู้ควรทักษิณาทาน
8. อ¬ญฺชลีกรณีโย เป็นผู้ควรอั¬ญชลีกรรม
9. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติ ท่านเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ (93-97)
เหรียญที่ใช้หัวใจคาถา อิ สวา สุ ที่นำมาเป็นตัวอย่าง คือ เหรียญที่ระลึก หลวงพ่อเชิญ พระครูวรกิจวิธาน (สมชัย ธุรวาโห) (วัดโคกทอง อ.ผักไห่ จ. พระนครศรีอยุธยา)ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นโท พ.ศ. 2430
เป็นเหรียญรูปกลม ใช้ยันต์ นะ (ซึ่งจะนำเสนอในโอกาสต่อไป) เป็นองค์ประธานของเหรียญ จารึกหัวใจคาถา อิ ทางด้านซ้ายยันต์ นะ สวา ทางด้านขวายันต์ นะ และ สุ ทางด้านใต้ยันต์ นะ
เหรียญนี้ก็เช่นกับเหรียญอื่นๆ จะใช้คาถาที่อ้างเอาคุณพระศรีรัตนตรัย คือ อิ สวา สุ ไว้ด้านหลังเหรียญ แต่ด้านหน้าได้นำรูปตัวเองมาเป็นองค์ประธานของเหรียญ จึงไม่ค่อยน่าสนใจ ดังนั้นหากจะหาเหรียญที่มีคาถา อิ สวา สุ ควรหาเหรียญที่ด้านหน้ามีองค์พระพุทธรูป เป็นประธานของเหรียญ น่าจะดีกว่า แต่หายาก ครับผม
…………
ท.ธีรานันท์.(2549)สวดมนต์สิบสองตำนานแปล (ฉบับสหธรรมิก).พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ดวงแก้ว.

Comments are closed.