หัวใจคาถาพุทฺธสํมิ

R1.6จิปาถะ
หัวใจคาถาพุทฺธสํมิ
คาถาที่มาจาก สรณาคมน์ นอกจาก หัวใจคาถา “มิ” แล้ว ยังมีหัวใจคาถาอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งนิยมนำมาใช้ในเหรียญพระก็คือ คาถา “พุทฺธสํมิ”
พุทฺธสํมิ เป็นหัวใจคาถา ที่ย่อ มาจากสรณาคมน์ ดังนี้
พุทฺ ย่อมาจาก พุทฺธํ
ธ ย่อมาจาก ธมฺมํ
สํ ย่อมาจาก สงฺฆํ
มิ ย่อมาจาก สรณํ คัจฉามิ
เกี่ยวกับไตรสรณคมน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ ณ ปาอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงกรุงพาราณสี เมื่อ
พระยสะกับพวกสหายบรรลุพระอรหันต์แล้ว ทรงส่งไปประกาศพระศาสนา และทรงอนุ¬ญาตให้สาวกอุปสมบทกุลบุตรได้ การอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ หรือ ติสรณคมนูปสัมปทา คือการบวชภิกษุด้วยการกล่าวคำสรณะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นวิธีอุปสมบทที่พระพุทธองค์ทรงอนุญ¬าตให้พระสาวกบวชกุลบุตรได้ในครั้งพุทธกาล แต่ต่อมาเมื่อทรงอนุ¬าญตการอุปสมบทด้วย¬ัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา โดยพระภิกษุประชุมกันครบองค์ในเขตพัทธสีมา กล่าววาจาประกาศเรื่องการรับคนนั้นเข้าหมู่ และได้รับความยินยอมจากภิกษุทั้งปวงที่เข้าประชุม อันเป็นการอุปสมบทที่ใช้ปฏิบัติกันในปัจจุบัน ส่วนไตรสรณคมน์ก็ทรงอนุญ¬าตให้เป็นวิธีบวชสามรเณรสืบต่อมา
หัวใจคาถาพุทฺธสํมิ ปรากฏหลักฐานอยู่ใน“จารึกคาถาหัวใจพระสูตร” ซึ่งเป็นจารึกบนแผ่นทองคำแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า พบเมื่อ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2502 ที่ จังหวัดสุโขทัย กองหอสมุดแห่งชาติกำหนดให้เป็น จารึกอักษรขอมสุโขทัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 (ฉ่ำ ทองคำวรรณ.2529 : 47-49) ปัจจุบันจารึกทั้งสองแผ่นนี้ เก็บรักษาอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กทม.
ตัวอย่างเหรียญพระที่ใช้คาถานี้ คือ เหรียญพระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จังหวัดพิษณุโลก
……….
อ้างอิง
ฉ่ำ ทองคำวรรณ. (2529). “จารึกหัวใจคาถาพระพุทธคุณ” ใน จารึกในประเทศไทยเล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

budh

 

Comments are closed.