จิปาถะ : เรื่องสั้น โจรปล้มเงินเดือน (กรรมนั้นมีจริง)

วันอังคารที่ 20  เมษายน  2564

จิปาถะ : เรื่องสั้น โจรปล้มเงินเดือน (กรรมนั้นมีจริง)

20

เรื่อง เอกสารรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับ 3 ของมหาวิทยาลัยสารขัณฑ์นั้น  มีประเด็นสำคัญ คือ เมื่อรักษาการ ผอ.กองการพัสดุ ตรวจพบว่า บริษัท A ได้ใช้เอกสารรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับ 3 ของบริษัท B ยื่นซองประกวดราคา ซึ่งถือว่าเป็นการทุจริต  จึงบันทึกแจ้งให้รักษาการอธิการบดีทราบ เพื่อให้มหาวิทยาลัยดำเนินการตามกฏหมายต่อไป

เรื่องนี้ ตามปกติ รักษาการอธิการบดี ก็จะแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ตรวจสอบหาข้อเท็จจริง เพื่อให้ได้ข้อมูลแน่ชัดว่าการทุจริตนั้น เกิดขึ้นจากบริษัท A ใช้เอกสารปลอม หรือว่ามีคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างคนใดมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยหรือไม่อย่างไร ถ้าคณะกรรมการมิได้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือมีส่วนได้ส่วนเสีย ก็เพียงแต่บกพร่องต่อหน้าที่ราชการ ผิดวินัย โทษก็อาจจะเป็นเพียงภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน คงไม่ถึงกับปลดออก หรือไล่ออก

ส่วนนางแต้ม ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิการบดี ไม่ว่าจะเป็นประธานการจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่  ก็จะไม่ถูกตั้งกรรมการสอบสวนเอาผิดทางวินัย เพราะนางไม่ได้เป็นข้าราชการพลเรือน ไม่มีใครมีอำนาจที่จะไปตั้งกรรมการสอบสวนนางได้ แต่นางจะมีความผิดตามกฏหมายอาญา มาตรา 157

ความจริงแล้ว การทุจริตครั้งนี้ตรวจพบได้ไม่ยาก เพราะมีเอกสาร คือ ใบรับรองมาตรฐานฯ เพียงแผ่นเดียว ลักษณะแบบเดียวกับวุฒิบัตร มีโลโกและกรอบสีเขียว  มีชื่อบริษัทพิมพ์ด้วยตัวอักษรทึบขนาดใหญ่  เห็นได้ชัดเจน จึงเป็นเรื่องแปลกมาก ที่การทุจริตของบริษัท A ดังกล่าวสามารถเล็ดรอดสายตาของคณะกรรมการไปได้ 

ข้าราชการครูนั้น  ก็ควรเป็นอย่างที่ ผศ.ดร. ชลิดา ว่า  “มีหน้าที่สอนไม่ควรยุ่งกับการจัดซื้อจัดจ้าง  ควรทำหน้าที่แค่เสนอสิ่งที่ต้องการ แล้วให้เจ้าหน้าที่เขาไปเสาะหาให้ ปลอดภัยที่สุด  โกง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน ถ้าตัวเองไม่ได้รับกรรม  แต่ลูกหลานที่เอาเงินไม่ดีไปใช้ ก็จะวิบัติสักวันหนึ่ง  กรรมมาได้หลายรูปแบบ”

อย่างไรก็ตาม ความน่าสนใจของกรณีนี้อยู่ที่  นางแต้มไม่ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนหาข้อเท็จจริง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่า นางเป็นประธานกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง และมีพวกพ้องของตัวเองเป็นกรรมการอยู่เกือบทั้งหมดด้วย  จึง เห็นได้จัดเจนว่ามีการปกป้องผู้กระทำความผิดที่เป็นพวกเดียวกัน

ถ้าเรานำกรณีนี้ไปเปรียบเทียบกับ กรณีการแต่งตั้คณะกรรมการสอบสวนเพื่อเอาผิดพนักงานมหาวิทยาลัย หรือ “หญิงผู้กล้า” จะเห็นได้ว่า มีการจงใจเลือกปฏิบัติย่างชัดเจน

เรื่องนี้ เหมือนผีโผล่ขึ้นมาจากหลุม ไม่มีใครไปขุดไปคุ้ย โผล่ขึ้นมาเองเพื่อยืนยันว่า “กรรมนั้นมีจริง

“ในนามของเจ้าภาพ ผมขอขอบพระคุณ ท่านรักษาการผู้อำนวยการกองการพัสดุ มหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ ที่เปิดเผยเรื่องนี้ และท่านกรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีประชุมเพลิงครั้งนี้ด้วย ครับผม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *