จิปาถะ เรื่องสั้น โจรปล้มเงินเดือน (จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด)

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม 2564

จิปาถะ เรื่องสั้น โจรปล้มเงินเดือน (จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด)

18

ไม่มีมนุษย์คนใดสมบูรณ์แบบ ทำผิดได้ แต่ข้อสำคัญจะต้องไม่ทำผิดซ้ำซาก และเมื่อทำผิดแล้วก็ต้องรีบแก้ไขให้ถูกต้อง ดังบทเพลงพระราชนิพนธ์ “ความฝันอันสูงสุด ท่อนหนึ่งว่า “จะแน่วแน่แก้ไข ในสิ่งผิด จะรักชาติ จนชีวิต เป็นผุยผงจะยอมตาย หมายให้ เกียรติดำรง จะปิดทอง หลังองค์ พระปฏิมา”และสิ่งที่ยืนยันคำกล่าวนี้ คือ ข่าว “ศาลรธน.เสียงข้างมากชี้มติศาลปกครองจ่าย “โฮปเวลล์” ขัดรัฐธรรมนูญ” ดังรายละเอียดของข่าวโดยย่อ ดังนี้ : เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2564 ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดีที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นคำร้อง คำร้องเพิ่มเติม และเอกสารประกอบ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ว่า มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 18/2545 วันพุธที่ 27 พ.ย. 2545 ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินอ้างว่าเป็นระเบียบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 44 แต่มิได้ ดำเนินการตามมาตรา 5 และมาตรา 6 วรรคหนึ่ง จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 5 วรรคหนึ่ง มาตรา 25 วรรคสาม มาตรา 188 และมาตรา 197 ขอให้สั่งเพิกถอนมติหรือการกระทำดังกล่าว” (https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/927812?anf=)จากข่าว แสดงให้เห็นว่า แม้แต่ศาลปกครองสูงสุดก็ตัดสินคดีผิดได้ สิ่งที่ต้องทำก็คือ ต้องแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร็วเท่านั้นที่นี้มาพิจารณาปัญหาของมหาวิทยาลัยของรัฐ เรื่องบุคคลที่มีอายุเกิน 60 ปีและไม่ได้เป็นข้าราชการพลเรือน สามารถดำรงตำแหน่งอธิการบดี ในมหาวิทยาลัยของรัฐได้หรือไม่ เป็นเหตุให้มีเรื่องฟ้องร้องกันในศาลปกครองหลายแห่ง และผลของคำพิพากษาของศาลฯ บางแห่งก็สามารถเป็นได้ แต่บางแห่งก็พิพากษาว่าเป็นไม่ได้ จึงมีปัญหาขัดแย้งและฟ้องร้องกันอยู่ตลอดมาเรื่องนี้มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ ได้ให้ความเห็นมาว่า “คนเกษียณอายุราชการไปแล้ว เช่น คนอายุเกินหกสิบปี ยังกลับมารับราชการได้อีก มันผิดหลักการรับราชการ ผมว่า มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด น่าจะผิด ควรให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เรื่องนี้มีอาจารย์ท่านหนึ่ง เคยเสนอแต่ศาลปกครองสูงสุดตีตกไปผมว่าตราบใดมหาวิทยาลัยยังเป็นส่วนราชการ ที่คนเกษียณอายุราชการไปแล้ว จะมาเป็นอธิการบดีไม่ได้ ผิดระเบียบราชการ จะเอามหาวิทยาลัยนอกระบบราชการและมหาวิทยาลัยเอกชนมาอ้าง เหมือนที่ศาลอ้างกันไม่ได้จริงๆ ถ้าตัดสินว่า อธิการบดีมหาวิทยาลัยนอกระบบราชการ มีอายุเกิน 60 ปีได้ แต่ อธิการบดี มหาวิทยาลัยในระบบราชการ มีอายุเกิน 60 ปีไม่ได้ อย่างนี้จึงเรียกว่าตัดสินยุติธรรม”ส่วนผม คิดว่า จะต้องดำเนินการตามบทเพลงพระราชนิพนธ์ ครับ “จะแน่วแน่แก้ไข ในสิ่งผิด” ครับผม ….

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *