จิปาถะ เรื่องสั้น โจรปล้นเงินเดือน (สับสน งงกับพฤติกรรม)

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์  2564 

จิปาถะ  เรื่องสั้น โจรปล้นเงินเดือน (สับสน งงกับพฤติกรรม)

20

ความจริงเรื่องเงินเดือน 1.5/1.7 นั้นเป็นเรื่องกล้วยๆ เพียงอธิการบดีบอกว่าจ่ายไปตามสิทธิ์ก็จบบริบูรณ์ ไม่ต้องมาฟ้องร้องกันให้เสียเวลาทำมาหากิน มหาวิทยาลัยหลายแห่งที่อธิการบดีเป็น “คน”จึงเข้าใจคนด้วยกัน และจ่ายให้ตามสิทธิ์ แต่ที่สารขัณฑ์นางแต้มน่าจะไม่ใช่คน นางจึงไม่เข้าใจอะไรเลย สิทธิ์ของใครไม่เกี่ยว กูไม่ให้ซะอย่าง ใครจะทำไม  มีตัวอย่าง คืออาจารย์ศิลปะที่ลาออกไป ติดทุนเงินเดือนและทุน สกอ. เขามีสิทธิ์ที่จะไปใช้ทุนที่หน่วยงานใหม่แต่นางก็ไม่ยอมให้สิทธิ์นั้น หน่วยงานใหม่ยินดีจะจ่ายเงินทุนแทนให้ แจ็ดแจ๋ก็บอกว่าไม่มีระเบียบ อาจารย์ท่านนั้นได้ไปปรึกษากรมบัญชีกลางและ สกอ. คำตอบคือเป็นอำนาจของอธิการบดีทำอะไรไม่ได้ และเสนอแนะว่า ก็อยู่เฉยๆไปอธิการฯอยากได้ก็ให้ฟ้องเอา ปัจจุบันเรื่องยังอยู่ที่ศาลปกครองเมืองโคราชา

ฉะนั้น เรื่องเงิน 1.5/1.7 นางไม่ยอมจ่ายแน่นอน เพราะนางไม่ใช่คน นางเป็นอีเปรต เรื่องนี้มีอาจารย์ ผศ.ดร.ชลิดา แสดงความคิดเห็นมายาวเหยียด แต่ดีมาก จึงขออนุญาตเผยแพร่นะครับผม

“ไม่น่าเชื่อสิทธิ์อันพึงมีพึงได้ของเขา ควรจ่ายให้ตั้งแต่แรกแล้ว  ทำไมคิดยักย้ายถ่ายเทไปทำอย่างอื่น ถึงจะตั้งเป็นสวัสดิการแต่ไม่ถ้วนทั่ว จ่ายเขาไปเลย  เขาจะได้นึกถึงบุญคุณอีกด้วยที่ให้เขาเต็มเม็ดเต็มหน่วย  ผู้บริหารพวกเราทุกแห่งที่ไม่ยอมจ่ายนี่จิตใจคับแคบมากนะ

การให้เงินผู้น้อย  หรือผู้ใต้บังคับบัญชา  ให้เขาไปดูแลตัวเอง  ไปเลี้ยงครอบครัว  เป็นสิทธิอันชอบธรรม  ขนาดมีกฎหมายรองรับและเขาฟ้องร้องจนชนะแล้วยังไม่ยอมจ่ายอีก  คนทำแบบนี้ต้องตกนรกหมกไหม้เพราะคำสาปแช่งแน่ๆเลย จิตใจทำด้วยอะไรรักแต่คนของตัวเอง

คงไม่ใช่รักหรอก แต่น่าจะเป็นผลประโยชน์ต่างตอบแทนมากกว่านะ  เงินก็ไม่ใช่ของตนเอง เป็นเงินหลวงแท้ๆ ทำไมไม่จ่ายผู้บริหารบางคนเคยบอกว่า ถ้าจ่ายแล้ว เงินเดือนพนักงานจะมากกว่าคนที่บรรจุตำแหน่งข้าราชการก็เถอะ  แต่สวัสดิการต่างกัน  เหมือนพวกเรายอมทนเป็นข้าราชการรับเงินเดือนน้อยมากเมื่อเทียบกับเอกชน  แต่เราก็คิดว่าถ้าให้เก็บเงินเองคงไม่ไหวยอมให้รัฐเก็บให้ เพื่อสวัสดิการบำนาญและอื่นๆที่ช่วยเลี้ยงเราจนตาย ไม่ต้องพึ่งพาและเป็นภาระลูกหลาน (ดูสิ พอมีโควิดพวกข้าราชการ บำนาญน่ะได้เงินทุกเดือน ไม่ต้องเดือดร้อน ถ้ารู้จักกิน รู้จักใช้ ก็อยู่ได้สบายๆ เป็นอานิสงฆ์เลยล่ะ)  ดังนั้นคนที่สอบเข้ารับตำแหน่งราชการก็จะได้เงินเดือนน้อยกว่า พนักงาน เจ้าหน้าที่  แต่พอเกษียณ  ความรับผิดชอบชีวิตด้านการเงิน จะต่างกัน  ครั้งหนึ่งลูกศิษย์เป็น ผอ.

ถ้าเกษียณเขาจะไม่ได้รับบำนาญ ต้องได้บำเหน็จเป็นก้อนประมาณสามล้านกว่าบาท  เขาถามว่าต่อจากนั้นจะทำอย่างไร ก็ได้แต่บอกว่า  ต้องวางแผนการเงิน  ตั้งแต่เริ่มทำงานพอเกษียณจะได้ไม่ลำบากเคยเห็นคนมามากแล้ว รับบำเหน็จแล้วใช้จ่ายและแจกลูกหลานหมดตอนนี้ต้องอาศัยลูกเลี้ยงอย่างเดียว  กลายเป็นคนแก่ที่น่าสงสาร

สรุปเงินที่จะจ่ายพอหลวงเขาให้มาไม่จ่ายก็ต้องคืนคลัง และถ้ากล้ายักย้ายถ่ายเทไปใช้อย่างอื่น ยิ่งน่ารังเกียจมากๆจ่ายเขาไปเถอะ ขอร้องขนาดเราทำธุรกิจ เจอโควิดสองรอบ รายได้ไม่มี

แต่พอเทศกาลเคยแจกเงินลูกน้องพอเจอโควิด ไม่มีรายได้แต่ก็ยังแจกให้คนละร้อยสองร้อยและให้ของอีกนิดหน่อยเพื่อทำให้เขารู้ว่าเรามีน้ำใจ แบ่งปันลูกน้อง  เพราะเขาเป็นผู้ร่วมงานที่ทำให้ธุรกิจเราเดินหน้าไปได้  ก็ต้องขอบคุณและคิดถึงจิตใจของพวกเขาด้วย  เงินไม่ใช่คำตอบนะ แต่น้ำใจที่เราให้เขาน่ะคือคำตอบของการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข วันนี้ร่ายยาว ว่าจะไม่อยากคอมเม้นต์นิยายเรื่องนี้แล้วและไม่อยากอ่านเรื่องราวเหล่านี้อีกแล้ว มันเกิดความหดหู่

ไม่เข้าใจ สับสน งงกับพฤติกรรม งงกับจิตใจของบางคนที่เราเข้าไม่ถึงจริงๆและเกิดความเห็นใจผู้น้อยที่เฝ้ารอธรรมาภิบาลจากผู้บริหารจริงๆ”

….

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *