จิปาถะ เรื่องสั้น โจรขโมยเงินเดือน (ว่ากันเป็นเรื่องๆไป 2)

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม  พ.ศ. 2564

จิปาถะ เรื่องสั้น โจรขโมยเงินเดือน (ว่ากันเป็นเรื่องๆไป 2)

3

มีเสียงถามผมว่า  ที่ท่านระบุว่านางแต้มรักษาการอธิการบดีที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายมหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ เป็นโจรขโมยเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัยนั้น เป็นการใส่ร้ายนางหรือเปล่า?

ผมตอบว่า ก็สุดแท้แต่จะคิด แต่ด้วยสามัญสำนึกที่ผมมี ท่านลองพิจารณาดูนะครับ ผมจะแจงสี่เบี้ยให้ฟัง

“มติคณะรัฐมนตรี เมื่อปี 2542 ให้มหาวิทยาลัยจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยทดแทนอัตราข้าราชการทั้งสายผู้สอนและสายสนับสนุน  โดยให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ในหมวดเงินอุดหนุนทั่วไปในอัตราแรกบรรจุและบวกเพิ่มอีกร้อยละ 70 ของอัตราแรกบรรจุสำหรับสายผู้สอน  และในอัตราแรกบรรจุและบวกเพิ่มอีกร้อยละ 50 ของอัตราแรกบรรจุสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน  ทั้งนี้ ให้สถาบันอุดมศึกษาดังกล่าวกำหนดจำนวนบุคคลที่จะจ้างและอัตราค่าจ้างได้ตามเหตุผลความจำเป็น โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากสถาบันอุดมศึกษาและอยู่ภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร”

แต่ปรากฏว่าผู้บริหารมหาวิทยาลัยแทบทุกแห่งโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ ใช้ความได้เปรียบกับผู้แรกเข้าทำงาน ด้วยคำขาดของเจ้าเวรตะไล (Kovid) ชาติชั่วที่ว่า “มหาวิทยาลัยเราจ่ายแค่นี้ ถ้าอยากได้มากกว่านี้ก็ต้องไปที่อื่น” เป็นการปล้นกลางแดด มัดมือชก ทำร้ายคนที่ไม่มีอาวุธ พฤติกรรมเช่นนี้ เราเรียกว่าโจร และนี่คือที่มาของเรื่องสั้น “โจรขโมยเงินเดือน” 

วิธีการที่มหาวิยาลัยสารขัณฑ์จัดการเรื่องนี้ก็คือ จัดตั้งกองทุนสวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัย แต่ระเบียบและการดำเนินการไม่โปร่งใส่ คณาจารย์จึงได้ฟ้องร้องต่อศาลฯ และศาลพิพากษาให้มหาวิทยาลัยจ่ายเงินเคืนให้พนักงานพร้อมดอกเบี้ย เรื่องอยู่ในระหว่างอุทธรณ์  

“เรื่องเดียวกันนี้ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปรากฏว่าศาลปกครองสูงสุดพิพากษากรณีของ เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 63 ให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ชดใช้ค่าเสียหายแก่ว่าที่ร้อยโท จอห์นนพดล วศินสุนทร อาจารย์คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จึงเห็นว่าเป็นบทเรียนสำหรับมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อจัดค่าตอบแทนให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี

ว่าที่ร้อยโท จอห์นนพดล กล่าวว่า หลังจากวันนี้หากผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล จะเริ่มมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เพราะศาลปกครองสูงสุดได้วางแนววินิจฉัย บอกเหตุผลให้ฝ่ายบริหารไปแล้ว ซึ่งที่ผ่านมา ตนได้บอกไปแล้ว และมีเจตนาชัดเจน ส่วนที่ผ่านมาจะเข้าประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 หรือไม่ ต้องดูกรณีของแต่ละมหาวิทยาลัย หากจัดสรรเงินโดยมีเจตนาในเชิงทางปกครองแบบไม่ถูกต้อง ก็อาจจะเยียวยาแก้ไขทางแพ่งกันไป ซึ่งต้องคุยกันแต่ละมหาวิทยาลัย แต่บางแห่งเอาเงินไปใช้แบบผิดๆ ต้องดูเป็นกรณีว่าจะมีความผิดตามมาตรา 157 ในเรื่องเจตนาพิเศษหรือมิชอบอย่างไร เชื่อว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีแนววินิจฉัยเหมือนกันตลอด นอกเสียจากจะมีการออกมติคณะรัฐมนตรีใหม่”(ผู้จัดการออนไลน์. 17 พ.ย. 2563)

ส่วนที่มหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ไม่ต้องพูดถึง นอกจากนางแต้มอุทธรณ์แล้ว นางยังหักเงินพนักงานมหาวิทยาลัยอยู่ตามเดิม มติคณะรัฐมนตรีรึ? นางไม่สนหรอก เพราะนางเป็นโจรขโมยเงินเดือน

รออ่านประเด็นอื่นต่อไป ครับผม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *