จิปาถะ เรื่องสั้น โจรขโมยเงินเดือน (ต้องไปศาล)

จิปาถะ  เรื่องสั้น โจรขโมยเงินเดือน (ต้องไปศาล)

2

ที่มหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ ในช่วงที่นางแต้ม เป็นรักษาการอธิการบดีที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย (ไม่มีใครเข้าใจว่า เมื่อไม่ชอบด้วยกฏหมาย ทำไมถึงยังปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้…งงมาก) ได้มีคดีความฟ้องร้องในศาลเป็นจำนวนมาก คือฟ้องกันไป ฟ้องกันมา ระหว่างรักษาการอธิการบดีและคณาจารย์ ถ้าคิดในแง่ดีก็ถือว่ามีประโยชน์ เพราะครูบาอาจารย์จะได้มีความรู้ด้านกฏหมาย และมีประสบการณ์ตรง ซึ่งถือว่าเจ็งมาก

คดีความนั้น มีคดีแพ่งและคดีอาญา

1.คดีแพ่ง คือ คดีที่ฟ้องเกี่ยวกับเงินๆทองๆ  เช่น คดีกู้ยืม  คือกู้หรือยืมเงินไปแล้วไม่ยอมใช้คืน คดีมรดก คือ ทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ ที่พี่น้องตกลงแบ่งกันไม่ได้  ก็เป็นคดีความกัน เป็นต้น

การฟ้องคดีแพ่ง ต้องจ้างทนาย ต้องเสียค่าขึ้นศาล ค่าส่งหมายศาล ค่าคำร้อง และอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จะรวบรวมไว้ เมื่อชนะคดีแล้ว ศาลจะพิพากษาให้จำเลยใช้เงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ นั้น แทนโจทก์

แต่ถ้าแพ้คดี โจทก์ก็ต้องนำยึดทรัพย์สินของจำเลย (ถ้ามี) เพื่อนำออกขายทอดตลาด  และนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้คืนให้แก่โจทก์

2. คดีอาญา คือ คดีที่ฟ้องร้องกันเนื่องจากมีการทำความผิดทางอาญา หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ฟ้องร้องเพื่อให้อีกฝ่ายติดคุก หรือรับโทษอื่นๆในทางอาญา เช่น ให้ปรับ ให้ประหารชีวิต  เช่น คดีทำร้ายร่างกาย คดีลักทรัพย์ คดีรับของโจร เป็นต้น

การฟ้องร้องคดีอาญา มี 2 กรณี คือ 1) แจ้งความร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ  2)จ้างทนายความฟ้องร้องเอง

กรณีแรก:  เมื่อมีการทำความผิดเกิดขึ้น จะมีการแจ้งความร้องทุกข์ที่ตำรวจ และเมื่อตำรวจสอบปากคำและทำสำนวนเสร็จแล้ว ถ้าเห็นว่าควรสั่งฟ้องก็จะส่งสำนวนไปที่ พนักงานอัยการ ถ้าอัยการเห็นว่าไม่ควรฟ้องก็จะสั่งไม่ฟ้อง ถ้าเห็นว่าควรฟ้อง ก็ส่งฟ้องคดีอาญา เพื่อให้จำเลยได้รับโทษต่อไป

กรณีที่สอง:  เมื่อมีการทำความผิดเกิดขึ้น อาจดำเนินการเช่นเดียวกับกรณีแรกหรือไม่ก็ได้  ในชั้นตำรวจ ถ้าผู้เสียหายเห็นว่า คดีจะไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากผู้ต้องหามีอิทธิพล หรือวิ่งเต้นเพื่อล้มคดี ผู้เสียหายจะจ้างทนายความเพื่อฟ้องร้องคดีเองก็ได้

ที่มหาวิทยาลัยสารขัณฑ์ คณาจารย์ที่ถูกรักษาการอธิการบดีหรือนางแต้มฟ้องหมิ่นประมาท อันเป็นคดีอาญา หมายความว่า นางแต้มต้องการให้พวกคณาจารย์ติดคุก หรือรับโทษอาญาอื่นๆ โดยดำเนินการทั้ง 2 กรณี คือ แจ้งความร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ  และจ้างทนายความฟ้อง ตอนนี้คดี 9 อาจารย์ อยู่ในชั้นอัยการ เพื่อพิจารณาว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่ ส่วนคดีที่ศาล.. ศาลจะนัดไต่สวนมูลฟ้องเมื่อไร ไม่มีข้อมูล   ดังนั้นเมื่อท่านต้องไปศาล

1. เมื่อท่านได้รับ หมายเรียกจากศาล แจ้งว่า.. ท่านถูกโจทก์ฟ้อง.. หัวกระดาษหมาย จะเขียนบอกว่า คดีแพ่ง หรือคดีอาญา… เลขคดีดำที่เท่าไหร่ และศาลอะไร… (ข้อนี้ท่าน อ. คงได้รับหลายหมายแล้ว)

2. จำเลยคดีแพ่ง ต้องหาทนายเอง ภายในเวลา 15 วัน ต้องให้ทนายยื่นคำให้การ… จะต่อสู้คดี หรือรับ.. ก็ว่าไปตามความจริง..

3. ถ้าหาทนายไปศาลไม่ทันในวันนัด… ท่านควรไปศาลเอง บอกว่าขอเลื่อนคดี กำลังหาทนายความ.. อย่าเงียบ… หาย… ไม่ไปศาล… เพราะศาลจะถือว่าท่านขาดนัด.. จะสืบพยานโจทก์ฝ่ายเดียว… มีโอกาสแพ้คดี.. 99 %

จำเลยคดีอาญา ที่ถูกตำรวจจับ

1.เมื่อถูกตำรวจจับ.. ในชั้นตำรวจ ท่านมีสิทธิขอทนายฟรี และขอประกันตัวได้…

       * ถ้าเกิน 48 ชั่วโมง.. ก็มาขอประกันตัวชั้นฝากขังที่ศาลได้..

       * ถ้าไม่ได้ประกันตัว.. จะถูกขังระหว่างสืบพยานที่เรือนจำนะครับ..แต่ดีอย่างหนึ่ง เวลาไปศาล ก็จะมีรถของเรือนจำ รับ-ส่ง

2.ระหว่างอยู่ศาล มีข้อสงสัยอะไรเกี่ยวกับคดี.. อยากรู้ว่าเรามีสิทธิอะไรบ้าง.. คดีน่าจะตัดสินเมื่อไหร่… สอบถามผู้พิพากษาได้เลย… ด้วยอาการสุภาพ… ไม่ต้องเกรงใจ…

3.ถ้าได้ประกันตัว.. ก็ต้องไปพบตำรวจ อัยการ หรือไปศาลตามนัด.. ถ้าไม่ไป ศาลจะออกหมายจับ และปรับนายประกัน…

จำเลยในคดีอาญา ที่ผู้เสียหายจ้างทนายฟ้องเอง โดยไม่แจ้งความ… เราจะรู้ว่าถูกฟ้อง ก็ต่อเมื่อมีหมายเรียกของศาลว่าศาลนัดไต่สวนมูลฟ้อง…

“ไต่สวนมูลฟ้อง” คือ วันนัดที่ศาลจะไต่สวนพยานฝ่ายโจทก์ หลังจากยื่นฟ้องแล้ว.. เพื่อดูว่า มีการกลั่นแกล้งฟ้องหรือไม่.. ถ้าศาลเชื่อว่า ไม่ผิด ก็ตัดสินยกฟ้องได้เลย.. ถ้าศาลเชื่อว่า จำเลยน่าจะผิด ก็มีคำสั่งว่า คดีมีมูล ให้รับฟ้องไว้… เพื่อนัดสืบพยานต่อไป…

1.ถ้าได้หมายเรียกให้ไป นัดไต่สวนมูลฟ้อง… แปลว่า มีคนฟ้องคดีอาญาท่านแล้ว.. ให้เตรียมจ้างทนายความเลย…ถ้ามีทนายความ.. เขาก็จะไปศาลในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องแทนท่าน..ท่านจะไม่ไปก็ได้.

2.ถ้าไม่มีทนายความ… ก็ควรไปศาลในวันนัด.. บอกศาลว่า.  ขอให้ศาลตั้งทนายความขอแรง (ฟรี) ให้ได้… ถ้าท่านมีพยาน.. ก็บอกศาลไป ขอให้ศาลเรียกพยานฝ่ายเรามาไต่สวนด้วยก็ได้..

3.เมื่อไต่สวนพยานเสร็จ ปกติศาลจะเลื่อนคดีไปนัดฟังคำสั่งว่า คดีมีมูลหรือไม่.. ถ้ามีก็จะสั่งให้รับฟ้องไว้.. จากนั้นค่อยนัดสืบพยานทั้งสองฝ่าย.. อีกหลายเดือนหลังจากมีคำสั่ง…

4.ถ้าศาลมีคำสั่งว่า คดีมีมูลให้รับฟ้อง.. และวันนั้นท่านไปศาล.. จะต้องเตรียมหลักทรัพย์ หลักประกันไปด้วย.. เพราะถ้าไม่ประกันตัว.. ในวันนั้น ท่านจะไม่ได้กลับบ้าน.. เพราะศาลจะสั่งขังท่านไว้ระหว่างรอสืบพยาน…

5.ถ้าเงินไม่มี ก็ติดต่อนายประกันอาชีพที่ขึ้นทะเบียนกับศาล.. หรือให้ญาติไปติดต่อกองทุนยุติธรรมของกระทรวงยุติธรรม..หรือซื้อประกันเสรีภาพที่ตั้งโต๊ะรับอยู่ในบริเวณศาล.. หรือขอให้ศาลติด “EM” (Electronic Monitoring Center) หรือ กำไล EM (ติดที่ข้อเท้า) อุปกรณ์ติดตามตัวผู้ต้องหา ใช้แทนหลักทรัพย์ประกันตัว

6.ถ้าคิดไม่ออก ไม่รู้จะทำอย่างไง.. ให้ปรึกษาทนายอาสาที่ประจำศาล.. หรือสอบถามนิติกรที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของศาล..ควรไปติดต่อเรื่อง.. เตรียมการก่อนนะครับ.. อย่ารอให้ศาลสั่งขัง.. เพราะถ้าถูกขังแล้ว.. จะออกมาทำเรื่องเองไม่ได้…อย่าลืมนะครับว่า อย่ารอให้ศาลสั่งขับ อย่างน้อยขอติด EM ไว้ก็ยังดี ใส่กางเกงขายาวไว้ก็มองไม่เห็น ลองสังเกตนางแต้มด้วยนะ ถ้าเมื่อไรนางใส่กางเกงยาวละก็ นั่นแหละ !

ธีร์รัฐ ไชยอัคราวัชร์.ดร. ความรู้ในเรื่องกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม.สำนักงานกิจการยุติธรรม.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *