จะ ภะ กะ สะ

จิปาถะ
จะ ภะ กะ สะ
คาถา จะ ภะ กะ สะ (บางท่านเรียกธาตุพระกรณีย์) ปรากฏในจารึกคาถาหัวใจพระสูตร ซึ่งจารึกด้วยอักษรขอมสุโขทัย ภาษาบาลี บนแผ่นทองคำ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 พบที่จังหวัดสุโขทัย คาถาบทนี้เรียกว่า คาถากาสลัก หรือหัวใจคาถากาสลัก คือ จะ ภะ กะ สะ มีที่มา ดังนี้
จะ ย่อมาจาก จช แปลว่า จงสละ มีคำเต็มในภาษาบาลีว่า จช ทฺชฺชนสงฺสคฺคํ หมายความว่า จงสละเสียซึ่งการสังคมด้วยทุรชน
ภะ ย่อมาจาก ภช แปลว่า จงคบหา มีคำเต็มในภาษาบาลีว่า ภช ปณฺฑิตาเสวนํ หมายความว่า จงคบแต่บัณฑิต
กะ ย่อมาจาก กร แปลว่าจงกระทำ มีคำเต็มในภาษาบาลีว่า กร ปุญญมโหรตฺตํ หมายความว่า จงกระทำบุญ¬ทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน
สะ ย่อมาจาก สร แปลว่า จงระลึก มีคำเต็มในภาษาบาลีว่า สร นิจฺจมนิจฺจตํ หมายความว่า จงระลึกถึงความไม่เที่ยงอยู่เป็นนิจ (ฉ่ำ ทองคำวรรณ.2529.47-49. )
ในไสยศาสตร์ไทย หัวใจคาถา จะ ภะ กะ สะ มีความหมายถึงธาตุทั้งสี่ด้วย คือ
จะ คือ ธาตุน้ำ ภะ คือ ธาตุดิน
กะ คือ ธาตุไฟ ธะ คือ ธาตุลม
ขอจบเรื่องคาถา กรมหลวงชุมพรฯ แต่พอย่นย่อ ตามที่ อ.วิโรจน์ เอี่ยมสุข ขอมาเสียทีครับ ส่วนใหญ่ก็เป็นข้อมูล ซึ่งเป็นส่วนของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ส่วนอื่นๆยังมีอีกเป็นอันมาก สำหรับผู้ที่สนเรื่องนี้คงต้องรอ เพราะกำลังเขียนอยู่ ได้เยอะแล้วละ แต่ยังไม่เสร็จ รับรองต้องเสร็จแน่ๆ ไม่ข้างใดก็ข้างหนึ่งแน่นอน
…..
ฉ่ำ ทองคำวรรณ. (2529). “จารึกหัวใจคาถาพระสูตร” ใน จารึกในประเทศไทยเล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย
พุทธศตวรรษที่ 19-24. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

 

Comments are closed.