คาถานะโมพุทธายะ

coinn coinnncoinnnn

จิปาถะ
คาถานะโมพุทธายะ
2.2 คาถา นะ โม พุทฺ ธา ยะ หมายถึง ขันธ์ 5 หรือเบญ¬จขันธ์ คือ กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้ากอง หรือหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม เรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา-เขา เป็นต้น เบ¬ญจขันธ์ หรือ ขันธ์ 5 ได้แก่ รูป, เวทนา, สั¬¬ญญา, สังขาร, และวิญญ¬¬าณ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
รูป คือส่วนที่เป็นรูป เป็นพฤติกรรมและคุณสมบัติต่างๆของร่างกาย
เวทนา คือส่วนที่เป็นการเสวยรสอารมณ์ ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉยๆ
สัญญ¬¬า คือส่วนที่เป็นกำหนดหมายให้จำอารมณ์นั้นๆได้ เช่น ขาว ดำ เหลือง เป็นต้น
สังขาร คือส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ คุณสมบัติของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต เป็นกลางๆ
วิญญ¬¬าณ คือส่วนที่เป็นความรู้แจ้งทางอารมณ์ ความรู้ทางอารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6 มี อายตนะภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ อายตนะภายใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นต้น (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). 2553 :162)
“ตามคัมภีร์ ปรัช¬ญาปรมิตา ถือว่าสภาวะแห่ง สังสารวัฏ และ นิพพาน นั้น ไม่มีอะไรแตกต่างกัน เช่นเดียวกับความเป็นอันเดียวกันระหว่างโลกิยภาวะ และโลกุตตรภาวะ สาธุชนทั่วไปมองโลกในลักษณะตรงกันข้าม เพราะเห็นความมีอยู่ของตนและคนอื่นแตกต่างกัน จึงทำให้เขาไม่สามารถยกระดับกระแสจิตเข้าสู่นิพพานได้” (บุณย์ นิลเกษ.2526 : 108)
2.3 นะ โม พุทธา ยะ หมายถึงธาตุ ขอนำข้อมูลมาเสนอแต่พอสังเขป ดังนี้
คำว่า ธาตุ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ ได้อธิบายไว้ว่า คือ “สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย ธาตุ 4 ได้แก่ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ หรือ มหาภูต, ภูตรูป 4 พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม ได้อธิบายไว้ ดังนี้
“1. ปฐวีธาตุ คือ (ธาตุดิน) ธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง ภายในตัวก็มี ภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนดพอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐานได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ให¬ญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว ซึ่งมีลักษณะแข้นแข็งเป็นต้น อย่างเดียวกันนี้
2. อาโปธาตุ คือ (ธาตุน้ำ) ธาตุที่มีลักษณะเอิบอาบ ภายในตัวก็มี ภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนดพอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐานได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก มูตร หรือสิ่งอื่นใดก็ตามตามในตัว ซึ่งมีลักษณะแข้นแข็งเป็นต้น อย่างเดียวกันนี้ หรือธาตุดินหรือธาตุน้ำ
3. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) คือ ธาตุที่มีลักษณะร้อน ภายในตัวก็มี ภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนดพอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐานได้แก่ ไฟที่ยังกายให้อุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย ไฟที่ยังอาหารให้ย่อย หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว ซึ่งมีลักษณะแข้นแข็งเป็นต้น อย่างเดียวกันนี้ หรือธาตุดิน
4. วาโยธาตุ (ธาตุลม) คือ ธาตุที่มีลักษณะพัดผันเคร่งตึง ภายในตัวก็มี ภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนดพอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐานได้แก่ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้อต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมซ่านไปตามตัว ลมหายใจ หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว ที่มีลักษณะพัดผ่านไปเป็นต้น อย่างเดียวกันนี้” (พระพรหมคุณาภรณ์.(ป.อ. ปยุตฺโต). 2531.117-119)
ได้มีการนำธาตุทั้ง 4 มาใช้ในการปฎิบัติกัมมัฎฐานโดยการพิจารณาธาตุเป็นอารมณ์ เรียกว่า ธาตุกัมมัฏฐาน 4 คือ พิจารณากายนี้แยกเป็นส่วนๆ ให้เห็นว่าเป็นเพียงธาตุ 4 แต่ละอย่าง ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
ส่วน คาถา นะ มะ พะ ทะ คาถาหัวใจธาตุ 4 คือ
นะ คือ ธาตุน้ำ มะ คือ ธาตุดิน พะ คือ ธาตุไฟ ทะ คือ ธาตุลม
………….
อ้างอิง
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).(๒๕๕๑).พจนานุกรมพุทมธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์.
พิมพ์ครั้งที่ ๑๒. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
……………….. (2553).พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 18. นนทบุรี: เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.
บุณย์ นิลเกษ.(2526). พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แพร่พิทยา.

Comments are closed.