กรณีศึกษา : ข้าราชการขอลาออกจากราชการแต่ติดทุนรัฐบาล

bom

จิปาถะ
กรณีศึกษา : ข้าราชการขอลาออกจากราชการแต่ติดทุนรัฐบาล

กรณี : ข้าราชการท่านหนึ่งได้ขอไปช่วยราชการที่ภูมิลำเนาเดิมเพื่อดูแลแม่ซึ่งป่วย เนื่องจากเป็นลูกคนเดียวและพ่อได้เสียชีวิตแล้ว ปรากฏว่าเมื่อเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ ได้ถูกเรียกตัวกลับด่วน อาจารย์ท่านนั้นได้พยายามต่อรองเพื่อขอแลกเปลี่ยนตำแหน่ง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงได้ขอลาออกจากราชการ แต่นางแต้มไม่ยอมอนุมัติให้ลาออก อ้างว่ายังติดทุน สกอ.และทุนศึกษาต่อ(ทุนเงินเดือน) และยืนยันว่าจะต้องใช้ทุนให้เรียบร้อยก่อนจึงจะลาออกได้ ต่อมาอาจารย์ท่านนั้นได้รับการบรรจุ หน่วยงานใหม่ได้แจ้งมาว่ายินดีที่จะชดใช้ทุนให้ทั้งเป็นเวลาและเป็นเงินแต่นางแต้มก็ไม่ยอม

ระเบียบ : “กรณีข้าราชการที่อยู่ระหว่างปฏิบัติราชการชดใช้ทุนตามสัญญา ขอลาออกจากราชการเพื่อไปบรรจุเข้ารับราชการหรือปฏิบัติงานยังหน่วยงานอื่นของรัฐแห่งใหม่ สามารถขอผ่อนผันให้นับเวลาปฏิบัติราชการยังส่วนราชการหรือหน่ายงานอื่นของรัฐแห่งใหม่เป็นเวลาชดใช้ทุนได้ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการทำสัญญาและการชดใช้เงินกรณีรับทุนลาศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย และปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ พ..ศ. 2548 และ ข้อ 21 โดยส่วนราชการที่เป็นเจ้าของทุนและหรือส่วนราชการคู่สัญญา ต้องให้ความยินยอมเป็นหนังสือให้นับเวลาการรับราชการที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐแห่งใหม่เป็นเวลาชดใช้ทุนต่อไปได้ (กรมบัญชีกลาง. ที่ กค 0410.7/28953 ลงวันที่ 29 กันยายน 2553)

ต่อไปนี้เป็นหนังสือติดต่อกันระหว่างหน่วยงานเดิมกับหน่วยงานใหม่

หนังสือของหน่วยงานใหม่แจ้งมาว่า : “หาก (ผู้ลาออก) ยังมีภาระผูกพันเกี่ยวกับการชดใช้ทุนการศึกษากับหน่วยงานต้นสังกัดเดิม (หน่วยงานใหม่) ยินดีที่จะรับดูแลระยะเวลาการปฏิบัติงานชดใช้ทุนที่เหลืออยู่ของ(ผู้ลาออก) ต่อจาก (หน่วยงานเดิม) ทั้งหมดต่อไป ทั้งนี้ หาก (หน่วยงานเดิม) พิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง ขอให้คำนวณระยะเวลาและเงินทุนรัฐบาลที่ผู้รับทุนจะต้องปฏิบัติงานชดใช้ทุนที่เหลืออยู่พร้อมจัดส่งเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้รับทุนให้(หน่วยงานใหม่)เพื่อดูแลชดใช้ทุนต่อไป”(ที่ ศธ 0527/1345 วันที่ 28 มกราคม 2557)

บันทึกความเห็นท้ายหนังสือของหน่วยงานใหม่
น้องนางแต้ม : “…… ต้องลาออกจากการเป็นข้าราชการก่อน
– การไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยไม่สามารถโอนทุนไปชดใช้ได้
– ข้อมูลที่เคยสำรวจไว้ อาจารย์……ต้องชดใช้ทุนคืนก่อนจึงจะลาออกได้
– เนื่องจากพนักงานมหาวิทยาลัยไม่สามารถโอนทุนกันได้

บันทึกความเห็นของนิติกร :
– กรณี ข้าราชการจะขอลาออกต้องดำเนินการใช้ทุนตามสัญญาศึกษาต่อก่อนจึงจะได้รับการอนุมัติ
– กรณีจะเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย และขอชดใช้ทุนโดยหน่วยงานเป็นพนักงานฯแทนข้าราชการไม่มีแนวปฏิบัติ
และกรณีที่มีคำสั่งหรือมติใดๆให้ทำได้เว้นแต่โอนย้ายไปเป็นข้าราชการ”(ตรงนี้อาจเบลอ)

ผลสรุป : “ 1. กรณีสัญญารับทุนเลขที่ 2/2552 สัญญารับทุนอุดหนุนการศึกษาโครงการเครือข่ายทางกลยุทธ์เพื่อผลิตและพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาหลักสูตรปริญญาเอกในประเทศ ปีการศึกษา 2551 นั้น ………. ได้หารือกับเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษาแล้ว หากประสงค์จะขอลาออกจากราชการขณะที่ยังปฏิบัติงานชดใช้ทุนไม่ครบโดยจะขอไปบรรจุเป็นพนักงานของรัฐ ณ (หน่วยงานใหม่) เพื่อปฏิบัติงานชดใช้ทุนโดยขอนับเวลาการปฏิบัติงานเป็นระยะเวลาการปฏิบัติงานชดใช้ทุนต่อเนื่องนั้น สามารถกระทำได้ และเป็นอำนาจของ….ในการพิจารณาดังกล่าว ในกรณีนี้ ….ได้พิจารณาแล้วจึงยินยอมให้ท่านเปลี่ยนสถานที่ปฏิบัติงานชดใช้ทุนเป็น(หน่วยงานใหม่)ได้
2. กรณีสัญญารับทุนที่ 04/2551 สัญญาอนุญาตให้ข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศทาง….ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อท่านลาออกจากราชการและได้รับคำสั่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการได้ ท่านย่อมพ้นจากสภาพข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาขณะที่ยังปฏิบัติงานชดใช้ทุนไม่ครบกำหนดเวลา ตาม ข้อ 5 สัญญารับทุนที่ 04/2553 ถือว่าท่านผิดสัญญาไม่อาจปฏิบัติงานชดใช้ทุนไม่ครบระยะเวลาที่กำหนดไว้ ท่านต้องดำเนินการชดใช้เงินคืนแก่ทาง….จำนวน 736,311.94 บาท (เจ็ดแสนสามหมื่นหกพันสามร้อยสิบเอ็ดบาทเก้าสิบสี่สตางค์)(ที่ ศธ 0545.1(1)/224 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2557)

อภิปรายผล :
• นางแต้มนั้น มีอำนาจในฐานะคู่สัญญา ที่จะให้ผู้ที่ลาออกไปใช้ทุนเป็นเวลาที่หน่วยงานใหม่ได้หรือไม่ก็ได้ เพราะระเบียบได้ให้อำนาจไว้ ดังนั้น การที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาต จึงขึ้นอยู่กับว่านางมีความเมตตาต่อผู้ใต้บังคับบัญชาหรือไม่ หรือสำนึกรู้ได้มากน้อยแค่ไหน
• การให้ความเห็นโดยอ้างว่าไม่มีระเบียบปฏิบัติ และไม่ยอมให้หน่วยงานอื่นซึ่งจะรับผิดชอบเรื่องการใช้ทุนเป็นเวลาและเป็นเงิน ไม่น่าจะเป็นเหตุผลที่ถูกต้อง พฤติกรรมเช่นนี้แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า เป็นการกลั่นแกล้ง
• เนื่องจากคู่สัญญาเรื่องทุน เป็นหน่วยงานที่บริหารงานโดยสภาฯ การพิจารณาอนุญาตให้ข้าราชการลาออกหรือพิจารณาให้ใช้ทุนเป็นเวลาในหน่วยงานใหม่ได้หรือไม่ น่าจะเป็นการพิจารณาของสภาฯ มิใช่หัวหน้าฝ่ายบริหาร
• การพิจารณาของผู้บริหารมีลักษณะเป็น 2 มาตรฐาน คือ ทุน สกอ. อนุญาต ส่วนทุนลาศึกษาต่อ (ทุน เงินเดือน) ไม่อนุญาต อ้างว่าลาออกไปแล้ว (ตรงนี้ก็เบลอ)
• การที่นิติกรให้ความเห็นว่า “กรณี ข้าราชการจะขอลาออกต้องดำเนินการใช้ทุนตามสัญญาศึกษาต่อก่อนจึงจะได้รับการอนุมัติ” ความเห็นเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการขายวิชาชีพเพื่อรับใช้ทรราชจริงๆ เพราะระเบียบการลาออกจากราชการ กับระเบียบเรื่องทุนการศึกษา ไม่ต้องเรียนกฎหมายก็รู้ได้ว่ามันเป็นคนละเรื่อง

ข้อเสนอแนะ : ควรหาวิธีให้พ้นจากหน้าที่ไป

 

 

 

 

Comments are closed.