เรื่องสั้น เหตุเกิดที่ ม.สารขัณฑ์ (บังอาจ)

เรื่องสั้น เหตุเกิดที่ ม.สารขัณฑ์ (บังอาจ)

19

ดร.พี (คนละคนกับ คณบดีคณะเปรตศาสตร์) ถามผมว่า  “เมื่อนางแต้มรักษาการอธิการบดีมาจนครบ 180 วัน ในวันที่ 15  กันยายน 2560 แล้ว แต่เขาคิดว่า นางแต้มน่าจะยังสามารถรักษาการอธิการบดีได้ต่อไปอีก เพราะในคำสั่งสภาฯระบุไว้ว่า “โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งไม่เกินร้อยแปดสิบวัน หรือถึงวันที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าอธิการบดีใหม่” 

นอกจากนั้นยังมี คำสั่ง คสช.รองรับอีกด้วย ดังนั้น นางแต้มจึงสามารถรักษาการอธิการบดีได้จนถึงปัจจุบัน และการที่คณาจารย์พากันมาเรียกร้องให้สภาฯจัดการให้นางแต้มหยุดปฏิบัติหน้าที่จึงเป็นเรื่องไร้สาระ  เพราะนางแต้มปฏิบัติตามทั้ง คำสั่ง คสช. และคำสั่งสภาฯ ที่ให้รักษาการอธิการบดีต่อไปได้จนกว่าจะมีการโปรดเกล้าฯอธิการบดีใหม่”

ผมยอมรับว่าคำถามของ ดร.พี น่าสนใจมาก เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบตามที่ใจต้องการ ช่างเหมือนกับคำถามของ ผศ.ดร.พี คณบดีคณะเปรตศาสตร์จริงๆ ที่ถามวิทยากร ในการสัมมนา หลังสูตรกฏหมายมหาชนกับการบริหารมหาวิทยาลัย คือ ถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ใจต้องการ เมื่อวิทยากรตอบไม่ตรงใจ ก็ฟิวส์ขาด ที่ฟิวส์ขาด เพราะ ดร.พี มักจะคุยเสมอว่าเขาเป็นคนระดับต้นๆ

ผมตอบ ดร.พี ว่า “นางแต้มนั้นสามารถรักษาการอธิการบดีต่อไปได้ แต่จะต้องมีคำสั่งแต่งตั้งใหม่ โดยอาศัยอำนาจตามข้อ 3 ของคำสั่ง คสช. “ซึ่งอยู่ในระหว่างการสรรหาอธิการบดี หรือดำเนินการเพื่อแต่งตั้งอธิการบดี” แต่ในเมื่อไม่มีคำสั่งแต่งตั้ง รักษาการอธิการบดีใหม่ จึงทำให้นางแต้ม ขาดคุณสมบัติเป็นผู้รักษาการอธิการบดีทันที ตัวอย่างเช่น เมื่อบัตรประชาชนของท่านหมดอายุ  บัตรนั้นก็ไม่มีความหมาย เพราะใช้สิทธิ์อะไรไม่ได้เลย  เบิกค่ารักษาพยาบาลก็ไม่ได้ ฉะนั้น จะต้องขอทำบัตรใหม่ นางแต้มก็เหมือนกัน เมื่อรักษาการอธิการบดีมาครบ 180 วันแล้ว มันหมดอายุ จะรักษาการต่อไปได้ ก็ต้องมีคำสั่งใหม่” ที่ตอบมานี่เข้าใจไหม ท่าน ดร.พี

“เข้าใจ ครับ ที่นี้สมมุติว่าเกิดมีคำสั่งแต่งตั้งนางแต้มใหม่ ให้รักษาการต่อได้อีก 180 วัน เมื่อหมดเวลาก็แต่งตั้งใหม่อีก 180 วัน ไปเรื่อยๆจะได้ไหมครับ”

ผมตอบว่า “ตามปกติ การแต่งตั้งรักษาการอธิการบดี ไม่ใช่แต่งตั้งให้ปฏิบัติงานประจำแบบอธิการบดี เพราะ ภาระกิจที่มอบหมายก็มักจะเสร็จภายใน 180 วัน ถ้าไม่เสร็จก็อาจแต่งตั้งให้ดำเนินการต่อหรือไม่ก็ได้ ไม่ใช่อยู่รักษาการอธิการบดี เกือบ 3 ปีแบบนางแต้ม”

การออกคำสั่งรักษาการอธิการบดี หลังจากครบ 180 วัน กระทำได้ 2 กรณี คือ

1. นางแต้มได้รับการสรรหาให้เป็นอธิการบดี ก็สามารถแต่งตั้งนางแต้มรักษาการอธิการบดีต่อโดยอาศัยอำนาจตามข้อ 3 ของคำสั่ง คสช .

2. ถ้านางแต้ม ไม่ได้รับการสรรหาให้เป็นอธิการบดี สภามหาวิทยาลัย ควรแต่งตั้งบุคคล ผู้ที่ได้รับการสรรหาเป็นอธิการบดีมารักษาการในตำแหน่งอธิการบดี โดยอาศัยอำนาจตามข้อ 3 ของคำสั่ง คสช. เพื่อให้การบริหารงานต่อเนื่อง รอการโปรดเกล้าฯ”

 “แล้วที่คำสั่งระบุว่าให้รักษาการอธิการบดีจนถึงวันที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ละครับ” ดร.พี สงสัย

ผมตอบว่า “หาก สกอ. ไม่ส่งเรื่องคืนมา ให้สภามหาวิทยาลัยทบทวนการเสนอรายชื่อผู้ได้รับการสรรหาเป็นอธิการบดี นายกสภามหาวิทยาลัยก็สามารถออกคำสั่งให้นางแต้มรักษาการอธิการบดี จนกระทั่งได้รับโปรดเกล้าได้ แต่จากข้อเท็จจริงปรากฏว่า สกอ. ได้มีหนังสือ สั่งการให้ สภามหาวิทยาลัย ทบทวนชื่อผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ เพื่อโปรดเกล้า ถึง 3 ครั้ง ดังนั้น ถึงแม้ว่าคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจ ตามคำสั่งของ คสช. ก็ตาม ก็จะ หมดวาระ เมื่อ สกอ. มีหนังสือ ให้สภามหาวิทยาลัยทบทวนในครั้งแรก เนื่องจากเป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติ โดย ให้สภามหาวิทยาลัย แต่งตั้งรักษาการอธิการบดีคนใหม่และเริ่มต้นกระบวนการสรรหาอธิการบดีใหม่ด้วย”

แต่จากข้อมูลเชิงประจักษ์ ปรากฏว่าไม่เคยมีการดำเนินการสรรหาอธิการบดีเพื่อโปรดเกล้าฯเลย แต่สภาฯดันทุรังส่งชื่อนางแต้มไปเพื่อขอโปรดเกล้าฯถึง 3 ครั้ง โดยอ้างเหตุผลว่า เพื่อรอคำสั่งศาลปกครองสูงสุด แต่ไม่ได้รับการเสนอโปรดเกล้า ซึ่งเรื่องนี้หมิ่นเหม่มาก เพราะการที่สภาฯดื้อรั้นนำชื่อบุคคลที่มีปัญหาเพื่อขอโปรดเกล้าถึง 3 ครั้งนั้น นอกจากเป็นการขัดคำสั่งคณะรัฐมนตรีแล้ว ยังกระทำการที่มิบังควรเป็นอย่างยิ่ง คือไม่รู้ที่ต่ำที่สูง บังอาจจริงๆ ผมไม่เข้าใจว่า ไอ้พวกบังอาจนี่ เป็นกรรมการสภาฯได้อย่างไร แค่เรื่องนี้ ทั้งนายกสภาฯกรรมการสภาฯ และนางแต้มก็ติดคุกแหง๋ๆอยู่แล้ว ดร.พี เลยเงียบไป 

ผมจึงบอก ดร.พี ว่า “ไอ้น้อง กลับไปปรับทัศนคติเสียใหม่นะ แล้วค่อยมาคุยกัน”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *