เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก (ผมโง่)

odiodins

จิปาถะ

เรื่องสั้น  หัวใจเปื้อนชอล์ก (ผมโง่)

209

“ที่อาจารย์บอกว่า อย่าปล่อยให้สมองเป็นเพียงแค่สมอง หมายความว่าอย่างไรครับ”

“หมายความว่า เธอต้องทำกิจกรรมที่กระตุ้นการใช้สมองของเธอเป็นประจำและสม่ำเสมอนะซิ เช่น อ่านหนังสือ เล่นดนตรี เขียนรูป ฯลฯ…

ก็เหมือนกับการออกกำลังกายนั่นแหละ  การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  ทำให้สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย มีผลดีต่อสมองด้วย

แต่ที่เธอถูกเพื่อนกล่าวหาว่าโง่ ก็เพราะเธอปล่อยปะละเลย ลืมความสำคัญของการออกกำลังสมองด้วยการใช้งานและสร้างสิ่งท้าทายให้สมอง เพราะสมองนั้นยิ่งใช้งานมากเท่าไร  ก็จะทำให้ดีขึ้นมากเท่านั้น ที่สำคัญสมองไม่เหมือนกับอวัยวะอื่นๆของร่างกายที่ใช่มากก็จะชำรุดสึกหรอ แต่สมองยิ่งใช้ยิ่งดี ยิ่งฉลาด ไม่ใช่ยิ่งโง่”

“อย่างนี้นี่เอง ผมไม่ได้ใช้สมองผมเลยโง่ ”

“ถูกต้อง”

“ตรงนี้เข้าใจครับอาจารย์  แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า ผมจะใช้มันอย่างไรครับ”

210

“ผมจะไม่พูดถึงส่วนประกอบของสมองนะ เพราะไม่มีความรู้เรื่องนี้ อีกอย่างมันไม่ใช่ศาสตร์ของเรา ถ้าถากถางอยากรู้ก็ไปหาอ่านเอาเองก็แล้วกัน.. สิ่งที่จะบอกก็คือ การที่จะทำให้เธอฉลาดขึ้นก็ คือ เธอต้องพัฒนาการทำงานของสมองส่วนหลักๆของเธอ ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกกันว่า “กระบวนการรับรู้(Cognition)”

“มันคืออย่างไรครับ”

“กระบวนการรับรู้ หรือความรู้ความเข้าใจ หมายถึง “ความสามารถของสมองในการคิดพิจารณา การแบ่งแยก และการสั่งการ ซึ่งองค์ประกอบของมันได้แก่ ความคิด อารมณ์ ความมีสมาธิ ความเร็วในการรับรู้ การเรียนรู้ ความจำ การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และความคงทนของสภาวะจิตใจ”( Richard Restak.2549:9-10)

“องค์ประกอบของการรับรู้ที่กล่าวมานั้นจะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำงานของสมอง ซึ่งเราสามารถพัฒนาให้มันดีขึ้นได้”

“อธิบายให้ชัดกว่านี้สักหน่อยเถอะครับ”

“ฝึกการรับรู้ของเธอเป็นประจำและสม่ำเสมอ เช่น ฝึกคิด ฝึกพิจารณา แยกแยะสิ่งผิดถูก ฝึกจำ ฯลฯ”

“ยังงงอยู่ครับ”

“เอาง่ายๆอย่างนี้ดีกว่า ถากถาง อยากฉลาดใช่ไหม”

“อยากครับผม”

“สิ่งที่เธอต้องทำก็คือ  จำให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และถูกต้องแม่นยำด้วย “ไม่มีใครฉลาดได้ ถ้าจำอะไรไม่ได้เลย”

“ฮ่า ฮ่า ฮ่า” ถากถางหัวเราะ “ข้าพะเจ้าจะเป็นคนสะหลาด”

…………………

Richard Restak,M.D. ศิตวิภู แปลและเรียบเรียง.(2549).พัฒนาสมองให้เป็นอัจฉริยะ แบบ โมสาร์ท.(MOZART’s BRAIN

and the FIGATER PILOT.(2).กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ กู๊ดมอร์นิ่ง.

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *