เรื่องสั้น หัวใจเปื้อนชอล์ก

grils

จิปาถะ

เรื่องสั้น  หัวใจเปื้อนชอล์ก

1

“จำได้ไหม ถากถาง ผมเคยอ้าง คำกล่าว ของ ฟรานซิส เบคอน  (Francis Bacon 1561-1629) ที่ว่า

“Some books  to be tasted, Others to be swallowed, and some few to be chewed and digested.

หนังสือบางเล่มเหมาะแก่การชิม  บางเล่มเหมาะแก่การกลืน  และบางเล่ม เหมาะแก่การเคี้ยวและย่อยละเอียด”

“จำได้ครับ มีอะไรหรือครับ อาจารย์”

“ผมอยากเพิ่มเติมอีกสักนิดหนึ่ง”

“ครับ อาจารย์  แต่ผมสงสัยว่า  ฟรานซิส เบคอน ที่อาจารย์อ้างนี่ คนเดียวกับที่เป็นศิลปิน แนว figurative  Art ชาวอังกฤษหรือเปล่าครับ”

“คนละคนกันครับ แต่พอดีชื่อซ้ำกัน คนที่ผมอ้างนี่เป็น นักปราชญ์ รัฐบุรุษ นักวิทยาศาสตร์ นักกฎหมาย และนักเขียนชาวอังกฤษ ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่า..

“คนจะเป็นคนเต็มที่ก็เพราะการอ่าน  การปรึกษาหารือกันทำให้คนเป็นคนพร้อมอยู่เสมอ  และการเขียนทำให้คนเป็นคน    ถี่ถ้วน เพราะฉะนั้นถ้าใครเขียนน้อยก็ต้องมีความจำดี ถ้าพูดจาหารือกับคนอื่นน้อยก็ต้องเป็นคนมีคารมคมคายอยู่ก่อน และถ้าอ่านน้อนก็ต้องเป็นคนฉลาดแกมโกงที่ทำท่าว่ารู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้”(อ้างจาก ส. ศิวรักษ์.2536:6)

“ในกลุ่มเรามีคนแบบนี้บ้างไหมครับ อาจารย์”

“ก็ต้องพิจารณากันเอาเอง”

“ฮ่า ฮ่า ฮ่า” จานจิน หัวเราะ

“หัวเราะทำไม จานจิน แกหาว่าฉันเป็นคนฉลาดแกมโกงหรืออย่างไร”

“แกพูดเองนะ ถากถาง ฉันไม่ได้พูด”

“อย่าเถียงกัน” ผมตัดบท….“ฟานซิส เบคอน ยังกล่าวต่อไปอีกว่า..

“การอ่านประวัติศาสตร์ทำให้ฉลาดขึ้น อ่านกวีทำให้คนคม เก่งคณิตศาสตร์ทำให้รู้ลึกซึ้ง ปรัชญาธรรมชาติทำให้คนรู้สึก ศีลธรรมทำให้คนเอาจริงเอาจัง ตรรกและวาทศิลป์ทำให้คนสามารถที่จะพอใจในตนของตน”(อ้างจาก ส. ศิวรักษ์.2536:6)

2

“ฉะนั้น ถ้าเธอไม่อยากเป็นคนฉลาดแกมโกง เธอก็ต้องอ่าน ซึ่ง ริชารด์ เรสทัค (2549)  เสนอแนะไว้ สรุปได้ว่า

เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการอ่านมากที่สุด  เธอควรพิจารณาและสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เธออ่าน

ดังนั้น วิธีการอ่านที่ดีที่สุดก็คือการบันทึกสิ่งที่ได้อ่านในแต่ละวันไว้  ควรอ่านหนังสือหลายๆประเภท

เช่น วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ศิลปะ ฯลฯ

เมื่ออ่านเสร็จในแต่ละวัน ต้องสรุปใจความสำคัญและแนวคิดของเรื่องที่อ่าน และเขียนความรู้สึกและความคิดเห็นไว้ด้วย  หากอ่านอะไรทำให้นึกถึงสิ่งที่เคยอ่านมาแล้ว ก็นำมาเปรียบเทียบกันว่ามีความแตกต่างกันหรือคล้ายคลึงกันอย่างไรบ้าง

และที่สำคัญคือความคิดเห็นของเธอ  เมื่ออ่านไปได้ระยะหนึ่ง สิ่งที่เธออ่านและบันทึกไว้นั้นจะเป็นข้อมูลที่แสดงความคิดเห็นของเธอต่อนักเขียนและหนังสือเล่มต่างๆที่เธออ่าน และนั่นแหละ มันจะเปลี่ยนสถานภาพของเธอจากการเป็นเพียงผู้อ่านไปสู่การเป็นผู้มีส่วนร่วมในเนื้อเรื่องนั้นๆ ถ้าเธอปฏิบัติตามนี้ เธอจะก้าวไปสู่การรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น”

“ส่วนผมนั้นไม่ได้ทำอย่างอย่างที่ว่ามานี้  ผมไม่มีระบบระเบียบอะไร บางครั้งต้องการสิ่งที่เคยอ่านมาแล้วเพื่อนำมาใช้เขียนอ้างอิง หาตั้งครึ่งค่อนวันก็หาไม่ได้  เพราะไม่รู้ว่าอยู่ในหนังสือเล่มไหน ขอได้โปรดอย่าได้เอาเป็นเยี่ยงอย่างเป็นเด็ดขาด”

….

ส.ศิวรักษ์.(2536).คัยฉ่องส่องวรรณกรรม.(2).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เคล็ดไทย.

Richard Restak.คีตวิภู แปล.(2549).พัฒนาสมองให้เป็น“อัจฉริยะ”แบบโมสาร์ท. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กูดมอร์นิ่ง.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *