จิปาถะ เรื่องสั้น โจรปล้มเงินเดือน (ราชสวัสดิ์)

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม  2564

จิปาถะ  เรื่องสั้น โจรปล้มเงินเดือน (ราชสวัสดิ์)

24

ผมเห็นด้วยกับผู้สันทัดกรณีที่ว่า “แค่เรื่องขาดจิตสำนึกไม่ขอพระราชทานอภัยโทษ ในการกระทำที่ล่วงละเมิดต่อสถาบันฯ ก็ไม่มีใครกล้าเสนอชื่อโปรดเกล้าแล้ว”  ส่วนผมแค่เห็นรูปถ่ายปิดทับก็รับไม่ได้เหมือนกัน ทั้งนี้เพราะพวกเราเป็นข้าราชการ ที่จะต้องเป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

คำว่า “ข้าราชการ มาจากคำ 3 คำ คือ 1) “ข้า” หมายถึง ผู้ทำการงาน, ผู้รับใช้ 2)”ราช” มาจากคำว่า ราชา,พระเจ้าแผ่นดิน หรือพระมหากษัตริย์  3) “การ” หมายถึง การงาน, หน้าที่ 

ฉะนั้น  “ข้าราชการ” คือ ผู้ที่ทำกิจการงานต่างๆแทนองค์พระพระมหากษัตริย์ เช่น เวลาศาลพิพากษาคดี จะพิพากษาคดีในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ เป็นต้น

ข้าราชการไทย เริ่มขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงวางระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นครั้งแรก ให้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกสรรผู้มีความรู้และความสามารถเข้ารับราชการ

ในปัจจุบันมีข้าราชการหลายประเภท เช่น ข้าราชการพลเรือน

ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการตำรวจ เป็นต้น  ข้าราชการพลเรือนนั้น แบ่งออกเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์  และไม่ว่าจะเป็นข้าราชการประเภทไหน “จะต้องปฏิบัติตนเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนในพระองค์ คือ ประพฤติปฏิบัติตนตาม”ราชสวัสดิ์ 10 ประการ” ที่ผู้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทต้องปฏิบัติ

ราชสวัสดิ์  10 ประการเป็นบทพระราชนิพนธ์ในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 พระราชทานไว้เป็นข้อเตือนใจและข้อปฏิบัติแก่ราชสำนัก ความว่า

“โบราณว่าเป็นข้าจอมกษัตริย์     ราชสวัสดิ์ต้องเพียรเรียนรักษา

ท่านกำหนดจดไว้ในตำรา   มีมาแต่โบราณช้านานครัน

หนึ่งวิชาสามารถมีอย่างไร     ไม่ปิดไว้ให้ท่านทราบทุกสิ่งสรรพ์

หนึ่งกล้าหาญทำการถวายนั้น  มุ่งมั่นจนสำเร็จเจตนา

หนึ่งมิได้ประมาทราชกิจ     ชอบผิดตริตรึกหมั่นศึกษา

หนึ่งสัตย์ซื่อถือธรรมจรรยา    เหมือนสมาทานศีลไว้มั่นคง

หนึ่งเสงี่ยมเจียมตัวไม่กำเริบ    เอื้อมเอิบหยิ่งเย่อเฟ้อหลง

หนึ่งอยู่ใกล้ชิดติดพระองค์    ไม่ทำเทียมด้วยทะนงพระกรุณา

หนึ่งไซร้ไม่ร่วมราชาอาสน์   ด้วยอุบาทว์จัญไรเป็นหนักหนา

หนึ่งเข้าเฝ้าสังเกตซึ่งกิจจา   ไม่ใกล้ไกลไปกว่าสมควรการ

หนึ่งผู้หญิงชาวในไม่พันพัว    เล่นหัวผูกรักสมัครสมาน

หนึ่งสามิภักดิ์รักใคร่ในภูบาล    ถึงถูกกริ้วทนทานไม่ตอบแทน”

ท่านลองพิจารณาดูซิครับว่า นางแต้ม จะเข้าข่ายละเมิดราชสวัสดิ์ข้อไหนบ้าง ครับผม

อยากรู้รายละเอียดเกียวกับ ราชสวัสดิ์ สืบค้นได้ในงานวิจัยของคุณพอพล สุขใส ม.ศิลปากร.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *