เรื่องสั้น อิงสถานการณ์ (สำนึกที่งดงาม)

เรื่องสั้น อิงสถานการณ์ (สำนึกที่งดงาม)
22


“ว่าจะจบตอน “ความบ้า” ไว้ก่อน เพราะได้โน้มน้าวแนวร่วมให้บ้าตามตัวเอง ซึ่งบ้าๆ บอๆ ไม่หยุดไม่หย่อน ทั้งนี้เพราะหวังว่าจะร่วมกันคว้าชัยชนะคู่ต่อสู้คือนางแต้มซึ่งบ้าใหญ่ไร้สำนึก และช่วงชิง “โล่แห่งชัย” ให้ได้ และเมื่อนางแต้มพ่ายแพ้ ชัยชนะที่นางหวังว่าจะได้หลายร้อยเปอร์เซ็น โดยพยายามวิ่งเต้นหัวซุกหัวซุน เสียเงินเสียทองไปมากมาย จะได้จบสิ้นกันไป เมื่อถึงตอนนั้น พนักงานมหาวิทยาลัยสารขัณฑ์จะได้ “เฮ” เสียที เรากำลังรอฉลองกัน ครับผม
แต่พอดีนึกขึ้นได้ว่า ชวนให้พวกพ้องบ้า แต่ไม่ได้บอกวิธีบ้าแบบสร้างสรรค์ เดี๋ยวจะพากันบ้าเตลิดไร้ขอบเขตไปใหญ่ก็จะยุ่ง ทำอย่างไรล่ะ จึงจะบ้าแบบสร้างสรรค์ ก็ต้องควบคุมด้วยสำนึกที่ดีงาม คือ 1) ไม่ทำให้คนอื่นหรือตัวเองเดือดร้อน 2) สิ่งที่ทำนั้นมีประโยชน์มาก และ 3) ต้องทำถูกที่ถูกเวลา” มีเสียงบอกว่า “ยกตัวอย่างซิ”
“ได้ เอาเรื่อง พระพุทธรูปอุลตราแมนที่โคราชก็แล้วกัน ถามว่า “เป็นการสร้างสรรค์ไหม หรือว่าบ้าไหม” ตอบว่า “บ้าแน่” “แต่ทำไมคนจึงออกมาต่อต้านกันเยอะล่ะ” “ก็ทำให้คนอื่นที่เคารพศรัทธาเดือดร้อนนี่ ถึงแม้ว่าตัวเองไม่เดือดร้อนก็ตาม
มีประโยชน์ไหมล่ะ” “ มีครับ แต่ประโยชน์คู่กับโทษ ถ้าประโยชน์มากกว่าก็ดี ถ้าประโยชน์น้อยกว่าก็แย่” “ถูกที่ถูกเวลาไหม” “ก็พิจารณาดูก็แล้วกัน ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา แล้วเสือกมาสร้างสรรค์ที่นี่ ขาดสำนึกที่ดีงาม ครับผม เหมือนนางแต้มไม่มีผิด ไร้สำนึกจริงๆ”
เพื่อให้ตัวอย่างนี้สมบูรณ์ ผมขอนำข้อความใน Billboard ของอาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล ประธานองค์กร โนอิ้ง บุดด้า ที่ปกป้องและเทิดพระเกียรติพระบรมศาสดา เพื่อหยุดยั้งการนำสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าไปใช้อย่างลบหลู่ และหมิ่นพระเกียรติ Billboard นี้ ติดตั้งอยู่ที่ถนนทางเข้า-ออก สนามบินสุวรรณภูมิ (ดูภาพในเนทได้ครับ) ความตอนหนึ่งว่า
“Buddha is Father of Buddhists Buddha is not for decoration Respect is common sense.”
คำแปล”พระพุทธบิดาของชาวพุทธ พระพุทธรูปไม่ใช่ของตกแต่ง การเคารพ คือจิตสำนึกที่ดีงาม”
สรุปว่า พวกเราต้องสร้างสรรค์ ด้วยสำนึกที่งดงาม ครับผม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *