The answer is NO.

วิสุทธิ์ ตูน 18 กุมภาพันธ์ 2552

โพสต์ ทูเดย์ วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ทหารขวางกม.ปรองดองอ้างวุ่นวาย
พ.อ.จิตตสักก์ เจริญสมบัติ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ที่พรรคเพื่อไทยจะเสนอนิรโทษกรรมให้ผู้เกี่ยวข้องคดีทางการเมืองนั้นไม่น่าจะได้ผล
และจะทำให้ทุกอย่างไม่จบ


“จะมีปัญหาตามมาเรื่อยๆ เพราะเป็นเงื่อนไขที่ต่างคนต่างรับไม่ได้ ซึ่งจากการติดตามข่าวเห็นว่ากำลังพิจารณากันอยู่ ทางรัฐบาลก็รับปากจะนำเรื่องนี้เข้าครม. เพราะมีบางคนที่อ้างว่าเป็นพรรคร่วมรัฐบาลพยายามที่จะดึงให้รัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้อง แต่คิดว่าพ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่น่าจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น” พ.อ.จิตตสักก์ กล่าว
พ.อ.จิตตสักก์ กล่าวว่า จริงๆ แล้วร่างพ.ร.บ. ดังกล่าวอาจเป็นประโยชน์ของคนบางกลุ่มมากกว่าของประเทศชาติ และถ้าทุกฝ่ายต้องการให้เกิดความปรองดองของคนในชาติจริง ไม่จำเป็นต้องออกพ.ร.บ. ฉบับใดมาทั้งสิ้น แต่ขอให้ทุกฝ่ายหยุดการเคลื่อนไหว รวมถึงพรรคเพื่อไทยเองที่เป็นตัวตั้งตัวตีก็ทำตัวให้เป็นแบบอย่าง ไม่ใช่สมาชิกของพรรคยังอยู่เบื้องหลังและเป็นแกนนำประชาชนออกมาชุมนุม

นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ. ดังกล่าว นอกจากสส. พรรคฝ่ายค้านที่เห็นด้วย แล้ว ยังมีสส. พรรคร่วมรัฐบาลบางส่วน ที่เห็นด้วย ดังนั้นการร่างพ.ร.บ. นี้จึงไม่ใช่มติของพรรคเพื่อไทย และในการประชุมของพรรคในวันนี้จะมีการหารือเพื่อหา ข้อสรุปด้วย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ต้องการให้การเสนอเรื่องใดๆ เป็นการเติมเชื้อความขัดแย้งเช่นในอดีต ที่ผ่านมา วันนี้ประชาชนทราบดีแล้วว่าปัญหาเศรษฐกิจหนักหนาสาหัส และต้องการเห็นรัฐบาลเดินหน้าแก้ปัญหา
“ถ้าบ้านเมืองมีความขัดแย้งขึ้นมาอีก ประเทศไทยในสายตาของชาวโลกจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นต้องทำงานใหญ่คือการช่วยเหลือประชาชนก่อน ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมือง นักการเมืองต้องเอาไว้ภายหลัง” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) กล่าวว่า เท่าที่สอบถามความเห็นของแกนนำกลุ่มพธม. ไม่มีใครเห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมและพร้อมเคลื่อนไหว ต่อต้านตลอดเวลา

นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์คณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การออกกฎหมายนิรโทษกรรม นักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิไม่น่ากระทำได้ เนื่องจากเนื้อหาในร่างกฎหมายขัดกับรัฐธรรมนูญ 2550 ที่กำหนดบทลงโทษ ต่อกรรมการบริหารพรรค ตามมาตรา 237 เว้นแต่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงจะนิรโทษกรรมได้


Comments are closed.